Header Ads

Breaking News
recent

องค์ประกอบของน้ำหมักชีวภาพ



องค์ประกอบของน้ำหมักชีวภาพ


1. ฮอร์โมน
ฮอร์โมนหรือสารเร่งการเจริญเติบโตมีบทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ ฮอร์โมนที่มีต่อผลการเจริญของพืชและจุลินทรีย์ที่สำคัญมีดังนี้ คือ ฮอร์โมนออกซิน (Auxin), จิบเบอร์เรนลิน (Gibberellin) และไซโตโคนิน (Cytokinin) โดยฮอร์โมนดังกล่าวนี้จะช่วยในการเร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เช่น การแตกยอด ผลิไบ ออกดอก การขยายการเจริญของราก และช่วยให้จุลินทรีย์เจริญเติบโต เป็นต้น พืชผักหรือสัตว์ในสภาพธรรมชาติจะมีส่วนประกอบจของฮอร์โมนในปริมาณสูง


1.1 ฮอร์โมนออกซิน (Auxin)
บทบาทที่มีต่อพืช คือทำให้พืชมีการเกิดรากฝอยรากแขนงเพิ่มขึ้น เซลล์พืชมีการขยายตัวมากขึ้น มีการแบ่งเซลล์ของพืชมากขึ้น การติดผลดีขึ้นและเจริญเติบโตดี ส่งเสริมการออกดอก กระตุ้นการสุกของผลเพิ่มกิจกรรมเอนไซม์

1.2 ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน (Gibberellin)
บทบาทที่มีผลต่อพืช คือ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช มีการยืนตัวของลำต้นมากขึ้น ชักนำให้เกิดการงองของเมล็ดพืช การติดผลดีขึ้น กระตุ้นการสุกของผล ส่งเสริมการออกดอก พัฒนาการเกิดหน่อข้าง

1.3 ฮอร์โมนไซโตโคนิน (Cytokinin)
บทบาทที่มีผลต่อพืช คือ เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์พืช ส่งเสริมการพัฒนารากพืช ส่งเสริมการเกิดรากขนอ่อน ทำให้เกิดหน่ออ่อน ทำให้เกิดตาดอก เกิดการขยายตัวของใบเพิ่มขึ้น และเพิ่มอัตราการรเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสง

ตารางที่ 1 : ปริมาณฮอร์โมน กรดฮิวมิก และค่า pH ในน้ำหมักชีวภาพ
ชนิดน้ำหมักชีวภาพ     ฮอร์โมน (มิลลิกรัมต่อลิตร)กรดฮิวมิกpH
ออกซิน  จิบเบอร์เรล  ลินไซโตโคนิน(เปอร์เซ็นต์)
น้ำหมักชีวภาพจากปลา4.0133.073.053.364.2
น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่6.8537.1413.623.073.7
น้ำหมักชีวภาพจากผักประเภทกินใบ4.3316.5722.640.953.9
น้ำหมักชีวภาพประเภทกินผล0.2728.9311.280.833.7
น้ำหมักชีวภาพจากน้ำนมและผลไม้48.04360.6025.600.874.1



2. กรดฮิวมิก (Humic acid)
น้ำหมักชีวภาพจากพืชหรือสัตว์จะมีองค์ประกอบของกรดฮิวมิก และคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนพืช หรือ ฮอร์โมนออกซิน มีความสำคัญในการเร่งการเจริญเติบโตของรากและลำต้นพืชได้ดี ปริมาณกรดฮิวมิกในน้ำหมักชีวภาพจากปลาและหอยเชอรี่มีปริมาณเฉลี่ย 3 เปอร์เซ็นต์ และในพืชจะมีปริมาณกรดฮิวมิกเฉลี่ย 1 เปอร์เซ็นต์ จากผลวิเคราห์ปริมาณกรดฮิวมิกในน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ โดยเฉลี่ยพบว่าจะมีกรดฮิวมิกสูงกว่าน้ำหมักชีวภาพจากพืช

ตารางที่ 2 : ปริมาณกรดอะมิโนและวิตามินในน้ำหมักชีวภาพแต่ละชนิด
ชนิดน้ำหมักชีวภาพ               กรดอะมิโน                 วิตามิน
(มิลลิกรัมต่อตัวอย่าง 100 กรัม)(มิลลิกรัมต่อตัวอย่าง 100 กรัม)
L-LeucineL-AlanineL-Glutamic acidวิตามินบีสองไนอะซีน
น้ำหมักชีวภาพจากปลา40.31450.5542.41.0424.15
น้ำหมักชีวภาพจากผักประเภทกินใบ81.4138.3174.11.511.34
น้ำหมักชีวภาพประเภทกินผล66.6127.1153.91.621.19
น้ำหมักชีวภาพจากน้ำนมและผลไม้184.2193.0278.31.600.84

3. กรดอะมิโนและวิตามิน
กรดอะมิโนและวิตามินเป็นองค์ประกอบในน้ำหมัวภาพซึ่งจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาผลิต กรดอะมิโนมีประโยชน์ในการสร้างเซลล์พืชหรือจุลินทรีย์ในดิน สำหรับวิตามินเป็นสารเสริมการเจริญเติบโตให้กับพืชและจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของวิตามินบีจะมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเอนไซม์หรือน้ำย่อยของพืชรวมถึงการส่งเสริมการสร้างเนื้อเยื่อพวกเซลล์เมมเบรน (Membrane)

ตารางที่ 3 : ปริมาณเอนไซม์บางชนิดในน้ำหมักชีวภาพ
ชนิดน้ำหมักชีวภาพเอนไซม์ (มิลลิยูนิต/มิลลิลิตร)ปริมาณโปรตีน
เซลลูเลสฟอสฟาเทส(ไมโครกรัม/มล.)
ปลา72.5406.8745.8
หอยเชอร์รี่68.4301.7736.9
ผักรวม440.269.0103.6
ผลไม้รวม470.539.5114.6
สมุนไพร291.437.795.6

4. เอนโซม์หรือน้ำย่อยบางชนิด
ในกระบวนการหมักจุมีเอนไซม์เกิดขึ้นจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยสลายหลายชนิดได้แก่ เอนไซม์เซลลูเลสและฟอสฟาเทส เป็นต้น รวมถึงได้สารโปรตีน โดยเอนไซม์ต่าง ๆ ในน้ำหมักจะช่วยในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ในดิน ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ตารางที่ 4 : ชนิดและปริมาณอาหารหลักและธาตุอาหารรองในน้ำหมักชีวภาพ
ชนิดน้ำหมักชีวภาพ                                         ธาตุอาหาร %ค่า pHค่า EC
ไนโตรเจนฟอสฟอรัสโพแทสเซียมแคลเซียมแมกนีเซียมกำมะถัน(ds/m)
ปลา0.981.121.031.660.240.204.3521.60
ผัก0.140.300.400.680.260.274.3015.90
ผลไม้รวม0.270.050.630.580.010.173.603.78
หอยเชอรี่0.350.250.851.650.290.154.6529.18
พืชพื้นเมือง0.230.010.390.0590.0340.663.802.19
น้ำนม0.080.140.170.070.080.174.306.45

5. ธาตุอาหารพืช
โดยส่วนใหญ่จะพบว่ามีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารเสริมน้อยมาก ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช

ตารางที่ 5 : ปริมาณธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) ในน้ำหมักชีวภาพ
ชนิด                        ธาตุอาหารเสริม (ppm)
เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน
ปลา 160 50 30 12 -
กระดูกป่น 240 27 38 6 -
หอยเชอรี่ 171 126 140 180 -
ผักรวม 50 30 28 13 -
ผลไม้รวม 46 52 37 16 19

บทความอื่น ๆ ในเรื่องนี้
คู่มือ การผลิต และ การใช้ประโยชน์ น้ำหมักชีวภาพ

1. ความหมายของน้ำหมักชีวภาพ

2. คุณสมบัติของจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพ

3. วัสดุที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ

4. ส่วนผสมใสการทำน้ำหมักชีวภาพหรือสูตรน้ำหมักชีวภาพ

5. ชนิดของน้ำหมักชีวภาพและส่วนผสม

6. ขั้นตอนและวิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพ

7. ปัจจัยที่ควบคุมการย่อยสลายในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ

8. การตรวจสอบระหว่างการหมักเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ

9. หลักการพิจารณาน้ำหมักชีวภาพ

10. องค์ประกอบของน้ำหมักชีวภาพ

11. ลักษณะที่ดีของน้ำหมักชีวภาพ

12. คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ

13. อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ

14. ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ

15. ข้อแนะนำ ในการผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพ


******
ที่มา : สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน
โดย : Kaset NaNa เกษตรนานา


ลิ้งค์ที่น่าสนใจ


Powered by Blogger.