หลักการพิจารณาน้ำหมักชีวภาพ
หลักการพิจารณาน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพที่สามารถนำไปใช้ได้แล้ว มีข้อพิจารณาดังนี้การเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง
โดยสังเกตบริเวณฝ้าขาวบนผิวหน้าของน้ำหมักชีวภาพลดน้อยลงหรือปราศจากฝ้าขาย ซึ่งเป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงกระบวนการหมักสิ้นสุดลง
กลิ่นแอลกอฮอล์จะลดลง
เนื่องจากจุลินทรีย์จำพวกยีสต์ได้ใช้น้ำตาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการและจุลินทรีย์ที่ใช้แอลกอฮอล์ได้ผลิตกรดอินทรีย์สมบูรณ์มีผลทำให้การดำเนินกิจกรรมการหมักลดลง
มีกลิ่นเปรี้ยวเพิ่มขึ้น
ซึ่งเกิดขึ้นโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดอินทรีย์มากขึ้น ลักษณะการเป็นกรดสูงขึ้น
ไม่ปรากฏฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์น้อยมาก โดยกิจกรรมการหมักลดลงจึงทำให้เกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดน้อยลง
ได้ของเหลวใสสีน้ำตาล
เป็นการแสดงกิจกรรมการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์โดยสารละลายอินทรีย์จะถูกสกัดออกมาจากวัสดุหมัก
ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และปริมาณน้ำตาลลดลง
ในกระบวนการหมักที่สมบูรณ์แล้ว จุลินทรีย์ผลิตกรดอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นทำให้ค่า pH ลดลง อยู่ระหว่าง 3-4 และปริมาณน้ำตาลจะลดลงเหลือประมาณ 10 องศาบริกซ์
บทความอื่น ๆ ในเรื่องนี้
คู่มือ การผลิต และ การใช้ประโยชน์ น้ำหมักชีวภาพ
1. ความหมายของน้ำหมักชีวภาพ
2. คุณสมบัติของจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพ
3. วัสดุที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ
4. ส่วนผสมใสการทำน้ำหมักชีวภาพหรือสูตรน้ำหมักชีวภาพ
5. ชนิดของน้ำหมักชีวภาพและส่วนผสม
6. ขั้นตอนและวิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพ
7. ปัจจัยที่ควบคุมการย่อยสลายในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ
8. การตรวจสอบระหว่างการหมักเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ
9. หลักการพิจารณาน้ำหมักชีวภาพ
10. องค์ประกอบของน้ำหมักชีวภาพ
11. ลักษณะที่ดีของน้ำหมักชีวภาพ
12. คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ
13. อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ
14. ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
15. ข้อแนะนำ ในการผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพ
******
ที่มา : สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนโดย : Kaset NaNa เกษตรนานา
ลิ้งค์ที่น่าสนใจ