Header Ads

Breaking News
recent

การตรวจสอบระหว่างการหมักเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ


การตรวจสอบระหว่างการหมักเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ

ในระหว่างการหมักควรตรวจสอบหรือสังเกตกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้ทราบว่ากระบวนการหมักเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์มีดังนี้


การเจริญของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น
โดยเกิดฝ้าขาว หรือกลุ่มของจุลินทรีย์อยู่ที่ผิวหน้าของวัสดุหมักในช่วง 1-3 วัน หลังการหมักเนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวมีการใช้คาร์บอนจากน้ำตาลเป็นแหล่งอาหาร และพลังงานเพื่อการเจริญและเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้น

การเกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น
โดยมีฟองก๊าซเกิดขึ้นที่ผิวหน้าวัสดุและใต้ผิววัสดุหมัก

แอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น
ได้กลิ่นของแอลกอฮอล์ค่อนข้างฉุนในช่วงแรกของการหมัก ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการของยีสต์ และจุลินทรีย์ที่สร้างกรดอินทรีย์พวกกรดแลคติก

ความใสของสารละลาย
ลักษณะของสารละลายค่อนข้างใสซึ่งจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและไม่มีกลิ่นเหม็น เป็นการแสดงว่าจุลินทรีย์มีกิจกรรมย่อยสลายที่ดี ในกรณีที่สารละลายมีลักษณะขุ่นและกลิ่นเหม็นแสดงว่ากระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ไม่ต่อเนื่องกละมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย

บทความอื่น ๆ ในเรื่องนี้
คู่มือ การผลิต และ การใช้ประโยชน์ น้ำหมักชีวภาพ

1. ความหมายของน้ำหมักชีวภาพ

2. คุณสมบัติของจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพ

3. วัสดุที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ

4. ส่วนผสมใสการทำน้ำหมักชีวภาพหรือสูตรน้ำหมักชีวภาพ

5. ชนิดของน้ำหมักชีวภาพและส่วนผสม

6. ขั้นตอนและวิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพ

7. ปัจจัยที่ควบคุมการย่อยสลายในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ

8. การตรวจสอบระหว่างการหมักเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ

9. หลักการพิจารณาน้ำหมักชีวภาพ

10. องค์ประกอบของน้ำหมักชีวภาพ

11. ลักษณะที่ดีของน้ำหมักชีวภาพ

12. คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ

13. อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ

14. ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ

15. ข้อแนะนำ ในการผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพ

******
ที่มา : สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน
โดย : Kaset NaNa เกษตรนานา

ลิ้งค์ที่น่าสนใจ


Powered by Blogger.