ปัจจัยที่ควบคุมการย่อยสลายในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ
ปัจจัยที่ควบคุมการย่อยสลายในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ
กระบวนการย่อยสลายของพืชและสัตว์ที่สนในถังหมักนั้นเกิดขึ้นโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายมีผลต่อระยะสลายและคุณถาพของน้ำหมักชีวภาพดังนี้
ลักษณะของวัสดุ
วัสดุที่ใช้ในการหมักส่วนใหญ่นั้นจะเป็นวัสดุสด เช่น พืช และสัตว์ ควรให้มีขนาดเล็กโดยทำการสับหรือหั่นให้เล็กลง เพื่อสะดวกในการคลุกเคล้าในถังหมักและเป็นผลดีต่อกระบวนการหมัก
แหล่งอาหารของจุลินทรีย์
เนื่องจากจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการหมักวัสดุลักษณะสดซึ่งมีความชื้นสูงจำเป็นต้องใช้แร่ธาตุอาหารและน้ำตาลเป็นแหล่งอาหารและพลังงานที่สำคัญของจุลินทรีย์ ดังนั้นในกิจกรรมการหมักจึงจำเป็นต้องเติมน้ำตาลให้พอเพียงกับกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์
อุณหภูมิ
อุณหภูมิเป็นส่วนสำคัญที่กำหนดให้กระบวนการหมักและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มีการย่อยสลายได้ดี อุณหภูมิที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์นั้นอยู่ระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียหรืออุณหภูมิห้อง ดังนั้นถังหมักจะต้องตั้งอยู่ในที่ร่ม
แสง
ในระหว่างกระบวนการหมักนั้น จุลินทรีย์จะดำเนินกิจกรรมการหมักได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยแสงในการหมัก
ความชื้น
ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญในการหมักวัสดุพืชและสัตว์ในถังหมักเนื่องจากต้องมีความชื้นให้เพียงพอและเหมาะสมเพื่อให้การทำงานของจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักมีประสิทธิภาพทำให้ได้สารละลายที่มีประโยชน์และมีคุณภาพ
การระบายอากาศ
ในกระบวนการหมักวัสดุสนและมีความชื้นสูงเมื่อเกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาในระหว่างหมัก ดังนั้นจำเป็นต้องระบายก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปโดยวิธีการกวนทุก 3-7 วัน เพื่อช่วยทำให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังช่วยคลุกเคล้าให้วัสดุหมักให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ ในกระบวนการหมักที่ไม่มีการระบายอากาศจะทำให้จุลินทรีย์ดำเนินกิจกรรมการย่อยสลายช้า และช่วงระยะแรกของการหมักจะมีกลิ่นเหม็น บางครั้งอาจทำให้เกิดการเน่าเสีย และน้ำหมักมีคุณภาพลดลง
ระยะเวลาการหมัก
กระบวนการหมักจะใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน หลังจากนั้นทำการกรองแยกส่วนของน้ำไปใช้เป็นน้ำหมักชีวภาพ ส่วนกากที่เหลือนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินต่อไป
บทความอื่น ๆ ในเรื่องนี้
คู่มือ การผลิต และ การใช้ประโยชน์ น้ำหมักชีวภาพ
1. ความหมายของน้ำหมักชีวภาพ
2. คุณสมบัติของจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพ
3. วัสดุที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ
4. ส่วนผสมใสการทำน้ำหมักชีวภาพหรือสูตรน้ำหมักชีวภาพ
5. ชนิดของน้ำหมักชีวภาพและส่วนผสม
6. ขั้นตอนและวิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพ
7. ปัจจัยที่ควบคุมการย่อยสลายในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ
8. การตรวจสอบระหว่างการหมักเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ
9. หลักการพิจารณาน้ำหมักชีวภาพ
10. องค์ประกอบของน้ำหมักชีวภาพ
11. ลักษณะที่ดีของน้ำหมักชีวภาพ
12. คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ
13. อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ
14. ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
15. ข้อแนะนำ ในการผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพ
******
ที่มา : สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนโดย : Kaset NaNa เกษตรนานา
ลิ้งค์ที่น่าสนใจ