วิธีแก้ปัญหามะนาวเป็นโรคยางไหล
![]() |
หนอนชอนใบมะนาว |
วิธีแกัปัญหาหนอนชอนใบ
โดยใช้น้ำหมักสะเดาและน้ำส้มควันไม้ ฉีดพ่นแต่ทว่าไม่ได้ผล 100% เพราะเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ก็จะพบเห็นการเข้าทำลายได้อีก จนกระทั่งคุณนิรุต สาระวงศ์ ลูกชาย ได้นำวิธีการวางกับดักผีเสื้อมาใช้ เพื่อตัดวงจร ของผีเสื้อโดยมีหลักในการทำคือ นำน้ำหวานผสมกับกากน้ำตาลเล็กน้อยและ แล้วผสมน้ำในอัตรา 1:4 ใส่ในขวดน้ำที่ตัดด้านข้างออกเป็นช่อง เปิดออกไว้เพื่อเป็นทางเข้าของแมลงทั้งสองข้าง แล้วนำไปแขวนไว้ตามทรงพุ่มต้นมะนาว ตามจุดต่างๆ ของสวน เมื่อผีเสื้อเข้ามากินน้ำหวานก็จะติดอยู่ในกับดักไปไหนไม่ได้ เพราะยิ่งบินหนีก็จะยิ่งติดหนึบ แล้วสุดท้ายก็จะตายในที่สุด เมื่อตัดวงจรด้วยการวางกับดัก ดักจับตัวเต็มวัยผีเสื้อแล้ว ก็จะลดจำนวนผีเสื้อที่จะเข้าไปว่างไข่ในสวนได้ หลังจากมะนาวเริ่มติดดอกและมีลูกขนาดเล็ก ให้เอากับดักผีเสื้อออก บ้าง วางไว้เป็นจุดน้อยลง ซึ่งถ้าทำติดไว้ตลอดทั้งปีจะเป็นการเพิ่มแหล่งอาหารให้กับผีเสื้อ ก็กลายเป็นดึงดูดผีเสื้อให้เข้ามาเยอะขึ้น สุดท้ายก็จะสู้ไม่ไหว ทำใหห้หลุดเข้าไปในสวนมะนาวได้อยู่ดี
นอกจากนี้ยังมีหนอนแก้ว และพวกแมลงปีกแข็ง ที้จะเข้ามาทำลายใบด้วย ซึ่งสามารถใช้ลูกเหม็น ที่มีกลิ่นไม่พึงผระสงค์ สำหรับแมลงได้ วิธีการ คือ นำลูกเหม็นใส่ขวดนมเล็กๆ ที่ตัดด้านข้างออก ให้เป็นรูทางเข้าทั้งสองด้าน แล้วนำไปแขวนตามจุดต่างๆ ในสวน เมื่อมะนาวเริ่มติดผลให้เก็บกับดักลูกเหม็นออกบ้าง เพราะหากติดลูกเหม็นไว้ตลอดทั้งปี อาจทำให้แมลงเกิดความเคยชินหรือไม่กลัว และเข้ามาทำลายได้อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องเพลี้ยแป้ง ที่จะมาพร้อมกับมด เข้ามากวนใจสวนมะนาวอีก ซึ่งธรรมชาติของมดจะชอบอบู่บริเวณที่มีความชื้น ดังนั้น ต้องป้องกันไม่ให้มดเข้ามาได้
![]() |
โรคยางไหลมะนาว |
แก้ปัญหาโรคยางไหล
โรคยางไหลเป็นปัญหาสำคัญของชาวสวนมะนาว ซึ่งปัญหานี้คุณนิรุตลูกชาย บอกว่า จะมีโรคยางไหล ซึ่งมีอาการ ที่จะเป็นแผลบริเวณโคนต้น บางครั้งที่สภาวะอากาศหนาว ลมแรง ต้นมะนาว เกิดการเสียดสี หนามจะไปขูดขีดจนเกิดแผล พอนานเข้าก็จะเกิดยางไหลเป็นสีน้ำตาลออกมา ทำให้บริเวณแผลกว้างขึ้น ปริมาณของยางก็จะไหลเยอะขึ้น ซึ่งจะทำให้การเจิรญเติลโต และความสมบูรณ์ของต้นลดลง และอาจเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ที่จะตามมาด้วย โดยที่สวนจะใช้ยาฆ่าเชื้อสำหรับคน คือ เสตร็ปโตมันยซิน(ยากลุ่ม Streptomycin คือ ตัวยาที่ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในตัวแบคทีเรียทำให้แบคทีเรียหยุดการเจิรญเติบโต ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้และตายลงในที่สุด หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ราคาไม่แพง แต่ได้ผลดีเยี่ยม) ทาไปที่แผลยางไหล เริ่มจากขูดแผลออกก่อนแล้วทายาลงไป ทาประมาณ 2 ครั้ง จากนั้นสังเกตดูว่าถ้าแผลเริ่มแห้งให้หยุดทา ประมาณ 2-4 สัปดาห์จะค่อยๆ ดีขึ้น ยางหยุดไหล และต้องคอยระวังเรื่องน้ำ อย่าให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจทำให้เชื้อแบคทีเรีย เข้าได้อีก ทำให้กลับมาเป็นโรคได้อีก **แต่กรณีของต้นมะนาวที่เป็นโรคหนักแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้
วิธีแก้ปัญหาเรื่องการระบายน้ำไม่ดี หรือ มะนาวมีปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า
ปัญหาอีกอย่างของมะนาววงบ่อ ก็คือ การปรับปรุงดินหรือผสมวัสดุปลูกได้ไม่ดีพอ เมื่อผ่านเข้าปีที่ 2 ปัญหาจะเริ่มเกิดจากน้ำที่รดลงไปบ่อยๆ จะทำให้ด้านล่างแฉะ และด้านบนจะเริ่มเป็นดาน เมื่อการระบายน้ำไม่ดี จะเจอปัญหารากเน่าโคนเน่า และในช่วงปีที่ 2 เป็นช่วงที่มะนาวให้ผลผลิตค่อนข้างสูง อาจทำให้เสียหายและเสียเวลามาก
"ตอนที่ต้นมะนาวเป็นรากเน่าโคนเน่า ผมไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ตอนที่ไปอบรมก็ได้วิชามาเลยว่า ให้นำไตรโคเดอร์มามารักษา แต่ก่อนที่จะนำไตรโคเดอร์มามาใช้ ด้วยความอยากรู้ผมก็ลองขุดขึ้นมาแล้วตัดรากเน่าทิ้ง นำไปปลูกลงดินแทน ปัจจุบันนี้ก็ยังเติบโตดีอยู่ และทำให้รู้ว่าสาเหตุที่ทำให้ต้นมะนาวเกิดโรครากเน่าโคนเน่า นั้นมาจาก การวางวงบ่อซีเมนต์และฝารองวงบ่อชิดสนิทกันเกินไป ทำให้เกิดการระบายน้ำไม่ดี ด้านล่างเกิดการสะสมน้ำจนแฉะ ช่วงหลังจึงหาอะไรมารองไว้ให้มีช่องระบายน้ำได้ดีขึ้น ความชื้นดีขึ้น และผสมทรายหยาบเข้าไปให้เยอะกว่าปกติ เพื่อไม่ให้เกิดการกดทับดินแน่นจนเกินไป และถ้ารากมีการโผล่ออกมาก็จะตัดรากทิ้ง รวมถึงหมั่นตรวจดินให้มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ใส่ใบไม้เยอะขึ้นก็จะช่วยเรื่องรากเน่าโคนเน่าได้"
![]() |
มะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร 1 |
โดยในทางตอนท้าย คุณประสิทธิ์ ยังได้แนวทางการแก้ไขเรื่องโรค-แมลงศัตรูมะนาวแบบปลอดภัยว่า เนื่องจากทุกวันนี้อากาสไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ควบคุมศัตรูพืชได้ลำบาก เพราะโรค-แมลงศัตรูต่างๆ ที่เข้ามาทำลาย จะมีปัจจัยเรื่องสภาวะอากาศเป็นตัวนำ อย่างเช่น ฝนตกก็จะมีหนอนชอนใบมา อากาศร้อนจัดไม่มีฝนตกก็พาเพลี้ยไฟเข้ามา ซึ่งจะต้องอาศัยการหมั่นเข้าไปสำรวจในสวนให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ศึกษาหาสาเหตุพฤติกรรมการเจิรญเติบโตของต้นมะนาวและโรค-แมลงศัตรูพืชด้วย ตลอดจนวางแผนไว้ว่าจะต้องติดกับดัก จุดไหนบ้าง และดูว่าเดือนไหนติดกับดักแล้วยังมีแมลงศัตรูเข้ามาได้อีกก็ให้สลับปรับเปลี่ยนวิธีการไปเรื่อยๆ เพราะถ้าติดไว้ตลอดแมลงก็จะเกิดการเรียนรู้ ดังนั้น ต้องขยับตามแมลงศัตรูไปด้วย เป็นการทดลองไปเรื่อยๆ อย่าปล่อยให้แมลงศัตรูรู้ทัน
* * * * *
โดย : คุณประสิทธิ์ สาระวงศ์, รักบ้านเกิด
แชร์...ตรงนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV