Header Ads

Breaking News
recent

การสร้างฝายตามแนวพระราชดำริ เพื่อการจัดการน้ำใช้ทางการเกษตร


          “"การสร้างทำนบเก็บกักน้ำหรือผายเก็บกักน้ำในลักษณะทึบและเก็บน้ำได้ดี ตามร่องน้ำต่างๆ ที่เหมาะสม โดยพิจารณาใช้เครื่องมือง่ายๆ ที่มีความคล่องตัวที่จะนำไปใช้ในการขุดเจาะพื้นดินและทดลองฉีดอัดซีเมนต์บางๆลงไป หรืออาจจะทดลองใช้วิธีการป้องกันการซึมของน้ำด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น การผสมยางมะตอยหรือใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ฝายเหล่านี้สามารถเก็บน้ำเพื่อช่วยในฤดูแล้งสัก 2- 3 เดือน ก็จะเป็นการเพียงพอที่จะทำให้กล้าไม้แข็งแรงได้"

สร้างฝาย….สร้างชีวิต
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาป่าไม้ เพราะหากว่าป่ามีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ก็จะส่งผลให้ระบบนิเวศน์ธรรมชาติเกิดความสมดุล ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล สิ่งมีชีวิตต่างๆจะกำเนิดขึ้นและเกื้อกูลกันอย่างพึ่งพา แนวคิดในการอรุรักษ์และจัดการป่าและน้ำ จึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อโอบอุ้มสรรพชีวิตต่างๆ ในธรรมชาติให้อยู่อย่างยั่งยืน โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงผนวกแนวคิดการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์สูงสุดและทรงคำนึงถึงปัจจัยและชีวิตที่เชื่อมโยงสัมพันธ์เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน
แต่ป่าจะอยู่ไม่ได้เลยหากขาดน้ำ ตามแนวพระราชดำริที่ว่า “น้ำหล่อเลี้ยงชีวิต” พระองค์จึงได้ทรงวางรากฐานการชลประทานแก่พสกนิกรไทยได้มีน้ำไว้กินไว้ใช้ เราทั้งหลายจึงได้รู้จักกับ “ฝายต้นน้ำลำธาร” ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและสภาวะน้ำท่วม ตลอดจนปัยหาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรน้ำ


จุดกำเนิดฝาย
          สืบเนื่องมาจากสภาพป่าไม้ในปัจจุบันของประเทศไทยได้ลดจำนวนลงไปมาก เนื่องมาจากการบุกรุกทำลายป่าที่สืบเนื่องมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ป่าไม้เสื่อมโทรมจนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน

          ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริได้รับพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าหารูปแบบที่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เพื่อเป็นแบบอย่างการพัฒนาต่างๆ ให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้าไปศึกษาและนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้โดยที่มีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและพัฒนาป่าไม้ไปพร้อมๆ กัน


รูปแบบของฝาย
          “ฝายต้นน้ำลำธาร” หรือ “ฝายชะลอความชุ่มชื้น” (Check dam) คือ สิ่งก่อสร้างขวางหรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ทีมีความลาดชันสูง ให้สามารถกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง และหากเป็นช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ช่วยรักษาและจัดการดินและน้ำตามธรรมชาติได้ดีที่สุดวิธีการหนึ่ง ทั้งนี้รูปแบบของฝายมี 3 แบบ ได้แก่

1. ฝายท้องถิ่นเบื้องต้น

2. ฝายกึ่งถาวร

3. ฝายถาวร

          เนื่องจากอายุการใช้งานของฝายแต่ละแบบแตกต่างกัน จึงมีข้อควรคำนึงในการสร้างฝายต้นน้ำลำธาร ดังนี้


ข้อควรคำนึงในการสร้างฝาย
1. ควรสำรวจสภาพพื้นที่ รวมทั้งวัสดุก่อสร้างและเลือกใช้รูปแบบของฝายที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศมากที่สุด ซึ่งการสำรวจพื้นที่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างฝาย เพราะถ้าตำแหน่งไม่ถูกต้อง ฝายจะมีโอกาสพังทลายสูงมาก

2. ควรก่อสร้างฝายในพื้นที่ที่ร่องลำห้วยมีความลาดชันต่ำ เพื่อจะได้ฝายที่เก็บกักน้ำไว้บริเวณหน้าฝายได้

3. ควรเลือกวัสดุก่อสร้างฝายจากวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ก้อนหินหรือกิ่งไม้ ท่อนไม้ ควรใช้เฉพาะไม้ล้ม ขอนนอนไพรเป็นหลัก ไม่ควรใช้กิ่งไม้และท่อนไม้จากการตัด

4. การสร้างฝายก่อนฤดูฝน และควรมีการบำรุงรักษา ขุดลอกตะกอนและซ่อมแซมเป็นประจำทุกปี

ประโยชน์ที่ได้จากการสร้างฝาย
1. ฝายช่วยเก็บกักน้ำชะลอไว้ให้อยู่บนพื้นผิวดินให้นานขึ้น น้ำมีเวลาซึมผ่านผิวดินลงสู่ใต้ดินมากขึ้น ดินสามารถอุ้มน้ำไว้ได้

2 ฝายช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า เนื่องจากการกระจายความชุ่มชื้นมากขึ้น สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet fire break)

3. ฝายช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้นและแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย

4. ฝายช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง

5. ฝายช่วยเพิ่มความหลากหลายทางด้านชีวภาพให้แก่พื้นที่

6. ฝายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ป่าต่างๆ ตลอดจนมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมอีกด้วย


การดูแลรักษาฝาย
          หากอยากให้ฝายที่เราทั้งสละเหงื่อและกำลังทรัพย์ลงไป มีอายุการใช้งานยืนนานมากที่สุด ควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้

1. การเลือกสถานที่ก่อสร้าง ในการเลือกจุดที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากฝาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ ด้านเกษตรกรรม ตลอดจนด้านชุมชน นอกจากนี้การกำหนดพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ยังต้องขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ความจำเป็นและความเหมาะสมอื่นๆ ประกอบอีกด้วย

2. การเลือกวัสดุสำหรับก่อสร้าง รูปแบบของฝายต้นน้ำลำธาร สามารถแบ่งแยกออกตามวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็น 2 แบบ คือ วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ และเศษวัชพืช หินขนาดต่างๆ ที่หาได้ในพื้นที่ และวัสดุที่จะต้องจัดซื้อ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น กรวด ทราย การเลือกวัสดุแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดและวัตถุประสงค์ รวมทั้งสภาพพื้นที่ ปริมาณน้ำและปัจจัยต่างๆ ในแต่ละจุด

3. การกำหนดขนาดของฝาย ขนาดของฝายไม่มีการกำหนดขนาดตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

3.1. พื้นที่รับน้ำของแต่ละลำห้วย

3.2. ความลาดชันของพื้นที่

3.3. สภาพของดินและการชะล้างพังทลายของดิน

3.4. ปริมาณน้ำฝน

3.5. ความกว้าง-ลึกของลำห้วย

3.6. วัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง

ผลสำเร็จที่ได้จากการสร้างฝายเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้พบว่า

1. เดิมสภาพป่าเป็นป่าไม้เต็งรัง พัฒนาไปสู่ป่าไม้เบญจพรรณมากขึ้น ใบไม้ใหญ่ขึ้น ผลัดใบช้าลง

2. พรรณไม้มีจำนวนชนิดมากขึ้นจาก 35 ชนิดเป็น 80 ชนิด มีพรรณไม้หลายชนิดกลับคืนถิ่น และสามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกล้วยไม้ป่า

3. มีชนิดของสัตว์ป่าเข้ามาอยู่อาศัยและหากินปรากฏเพิ่มขึ้น เช่น นกยูงไทย ไก่ป่า กระต่าย เก้ง หมูป่า

4. ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหาร ซึ่งเกิดจากการทับถมของซากใบไม้ร่วงหล่นที่รอดจากการถูกเผา จากไฟป่า จุลินทรีย์ เพิ่มเป็น 3-4 % ของน้ำหนักดิน

5. ความชุ่มชื่นในผืนป่า มีความชุ่มชื่นเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 55% เป็น 75%

6. ฝายเป็นเหมือนกับทำนบธรรมชาติที่คอยชะลอน้ำ ลดปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลันได้ดี

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2530
ณ ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
ต. ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ต จ.เชียงใหม่

* * * * *
ทำเกษตรแล้วไม่มีที่ขาย ขายได้ที่
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย สินค้าเกษตร"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.