วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย
วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย ลงทุนหลักร้อย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สิ่งสำคัญที่สุดคือความสะอาด กับใจเย็น ไม่อย่างนั้นเลี้ยงไม่รอด ไม่กี่วันอาหารเป็นเชื้อรา เนื้อเยื่อตายหมด ถ้าใครยังไม่เคยทำ ให้ลองเอากล้วยไม้มาทำก่อน เพราะง่ายที่สุด เขี่ยเนื้อเยื่อเสร็จเลี้ยงอีกแค่ 5-6 เดือน ต้นเริ่มโตก็ขายได้ หรือเอาไปเป็นของขวัญของฝากในเทศกาลต่างๆก็ไม่เลว
วิธีการไม่ยาก เริ่มด้วยการทำอาหารเนื้อเยื่อ ใช้น้ำสะอาด 1 ลิตร วุ้นทำอาหาร 8 กรัม ถ่านไม้บด 0.2 กรัม มันฝรั่งบด 50 กรัม กล้วยหอมบด 50 กรัม ปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจนสูง 2 กรัม ใส่รวมในหม้อต้ม คนให้เข้ากันกระทั่งน้ำเดือด เทอาหารเนื้อเยื่อใส่ขวด สูงประมาณ 1 ซม. หยดน้ำยาซักผ้าขาวที่มีสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ตามทันทีประมาณ 5 หยด/ขวด...ปิดฝาอย่างรวดเร็ว ความร้อนกับน้ำยาซักผ้าขาวจะฆ่าเชื้อได้ดีวิธีนี้เลยไม่ต้องใช้หม้อนึ่งความดันให้สิ้นเปลือง
สูตรนี้ได้อาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อ 40-50 ขวด เมื่ออาหารเย็นจับตัวเป็นก้อน เอาไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เลย ขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะทำกันใน “ตู้ปลอดเชื้อ” ราคาแพงๆ แต่ ใช้ตู้เลี้ยงปลาแทนก็ได้ ล้างให้สะอาด ภายในมีตะเกียงแอลกอฮอล์...ก่อนลงมือเอาเนื้อเยื่อมาเพาะเลี้ยง ต้องใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 70% เช็ดฆ่าเชื้อตามฝ่ามือ ขวดอาหารเนื้อเยื่อ รวมทั้งปากคีบต้องเผาไฟฆ่าเชื้อ 2-3 ครั้ง
เนื้อเยื่อที่ต้องการนำเพาะขยาย ทำได้ทั้งพืชล้มลุก ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วแต่ใครจะชอบ ตัดเอาแค่ส่วนยอดอ่อนด้วยใบมีดที่คม แผลจะได้ไม่ช้ำ นำไปจุ่มในน้ำยาซักผ้าขาว 15% ฆ่าเชื้อก่อน จากนั้นนำไปใส่ในขวดอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ...ฝา ปากขวดต้องอังกับตะเกียงไฟ 3-5 วินาทีก่อนปิดให้สนิท นำขวดที่มีเนื้อเยื่อไปวางไว้ที่อุณหภูมิ 25–28 องศา เปิดไฟให้แสงสว่างวันละ 8 ชม. สังเกตอาหารเพาะเนื้อเยื่อหมด ย้ายต้นกล้าลงปลูกได้เลย แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ ให้ย้ายต้นกล้ามาใส่กาบมะพร้าวสับ เอาไปแขวนไว้ในโรงเรือนเพาะเลี้ยง ที่แสงแดดไม่แรง 5-6 เดือน ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเข้ากระเป๋าได้สบายๆ
ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลิทรีย์ และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่มารบกวนและทำลายการเจริญเติบโตของพืช
พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรค เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ข้าว แครอท คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า เป็นต้น
วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย
หน่อกล้วยที่จะนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้หน่อใบแคบ แล้วลอกกาบนอกออก จนเหลือหน่อที่มีขนาดประมาณ ๑ x ๑ นิ้ว ทำการฟอกฆ่าเชื้อโรคในสารละลายคลอรอกซ์แล้วล้างในน้ำกลั่น หลังจากนั้นจึงนำชิ้นส่วนของหน่อกล้วยเข้าทำงานในตู้เพาะเลี้ยงนำหน่อกล้วยมาลอกกาบนอกออกจนเหลือขนาด ๑ x ๑ นิ้ว |
จากนั้นจึงลอกกาบกล้วยออกอีก จนมีขนาดประมาณ ๑ x ๑ เซนติเมตร แล้วผ่าออกเป็น ๔ ส่วน โดยผ่าให้ผ่านจุดเจริญของกล้วย และวางลงบนวุ้นอาหาร แล้วจึงนำขวดอาหารไปวางไว้ในห้องปลอดเชื้อที่มีแสง ประมาณ ๓,๐๐๐ ลักซ์ อุณหภูมิ ๒๖ - ๓๐ องศาเซลเซียส
ผ่าออกเป็น ๔ ส่วน |
หลังจากนั้นประมาณ ๖ - ๘ สัปดาห์ จะสังเกตเห็นว่า มีการแตกยอดอ่อนของกล้วยเกิดขึ้น ให้ทำการตัดแบ่งเนื้อเยื่อ ต่อไปทุกเดือน จนเมื่อได้จำนวนมากพอแล้ว นำมาออกรากในอาหาร MS ที่ไม่มีฮอร์โมนประมาณ ๑ เดือน ต้นอ่อนของกล้วยก็จะออกรากพอประมาณ จึงนำย้ายออกปลูกในบรรยากาศธรรมชาติได้ โดยการนำขวดต้นอ่อนนั้นมาวางในบรรยากาศปกติก่อน ๒ - ๓ วัน เพื่อให้ต้นอ่อนปรับตัวเข้ากับบรรยากาศธรรมชาติ
วางลงบนวุ้นอาหาร |
แล้วนำออกปลูกในเครื่องปลูกที่สะอาด ประกอบด้วยทราย : ดิน : ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ๑ : ๑ : ๑ อบฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ ๖ - ๘ สัปดาห์ หรือมีความสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร จึงนำไปปลูกลงในแปลงได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
๑. เพื่อเพิ่มปริมาณในระยะเวลาสั้น เพราะการเกิดหน่อตามธรรมชาตินั้น หากขยายพันธุ์จาก ๑ ต้น จะให้หน่อไม่เกิน ๑๐ หน่อ และเมื่อนำหน่อนั้นมาขยายพันธุ์ต่อๆ มา ใน ๑ ปี จะได้หน่อจำนวนไม่เกิน ๑,๐๐๐ หน่อ แต่หากใช้วิทยาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณได้ถึง ๑๐,๐๐๐ หน่อ ซึ่งใช้เวลาเท่ากัน แต่จำนวนที่ได้จะต่างกันมากประมาณ ๑๐ เท่า
๒. ได้ต้นพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรค และแมลง ปกติหน่อพันธุ์ที่ขุดมาจากต้น มักจะมีโรคและแมลงที่ระบาดอยู่ในท้องถิ่นนั้นติดมาด้วย ทำให้การเจริญของหน่อชะงัก เจริญได้ไม่เต็มที่ และโรคบางชนิดอาจมาแพร่เชื้อ ทำให้เกิดการระบาดตามมา รวมทั้งแมลงบางชนิด เช่น หนอนเจาะลำต้น สามารถเจริญพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และระบาดเจาะไชลำต้นทำให้การเจริญของต้นไม่ดี หรือเมื่อเจริญขึ้นมาแล้วเกิดหักล้ม บางครั้งเมื่อออกดอกแล้วกำลังติดผล ต้นอาจจะล้มลง เกิดความเสียหายอย่างมาก
การใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะไม่มีโรคและแมลงติดมาด้วย เพราะในการขยายพันธุ์ เราใช้จุดกำเนิดซึ่งอยู่ส่วนในสุดของลำต้น และเป็นส่วนที่สะอาด ไม่มีเชื้อโรค นำมาเพาะเลี้ยงในสภาพที่ปลอดเชื้อ คือ ในอาหารสังเคราะห์ และห้องปฏิบัติการที่ปราศจากเชื้อโรค จึงทำให้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและแมลง ทำให้ต้นเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว และมีคุณภาพ แต่ทั้งนี้ต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะมิใช่ต้นที่ต้านทานต่อโรค
๓. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ในการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติจำนวนมาก จะมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น แม้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน ถ้าหากต้นที่เกิดขึ้นมีลักษณะที่ดี ให้ผลผลิตดี ก็ควรส่งเสริมต่อไปเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่ถ้าไม่ดี ก็สามารถคัดทิ้งออกไปได้ การกลายพันธุ์อาจดูได้ตั้งแต่ ต้นขนาดเล็ก ถ้าเราไม่ต้องการ สามารถคัดทิ้งได้ แต่ถ้าต้องการทดสอบต่อไป ก็อาจปลูกให้ต้นโต และถ้าได้ลักษณะที่ดี ก็ขยายพันธุ์ต่อไปเป็นสายพันธุ์ใหม่
นอกจากนี้ ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อาจทำถึงระดับเพาะเลี้ยงเซลล์และโพรโทพลาสต์ ซึ่งสามารถที่จะนำเอาโพรโทพลาสต์ ของกล้วยสายพันธุ์ที่ดีมาผสมกัน ทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ได้เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ
๔. เพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ การเก็บรักษาสายพันธุ์อาจทำได้โดยการลดอุณหภูมิให้ต่ำ หรือเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลว เพื่อรักษาสายพันธุ์ไว้ใช้ได้ในระยะนาน และเมื่อต้องการก็สามารถนำออกมาปลูกได้
* * * * *
ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
เพาะเนื้อเยื้อแล้วไม่มีที่ขาย ขายได้ที่
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย พันธุ์พืช"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย พันธุ์พืช"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV
กลุ่มเฟซบุ๊ก : ตลาดกลาง ซื้อ-ขายสินค้า เกษตร
แชร์...ตรงนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV