Header Ads

Breaking News
recent

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก แบบเศรษฐกิจพอเพียง


          ปลาดุกอุย  หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” เป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกรัสเซียกับปลาดุกอุย โดยใช้ปลาดุกรัสเซียเพศเมีย และปลาดึกอุยเพศผู้ ลูกปลาจะมีลักษณะไกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก คืออัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความทนทานต่อโรคสูง เกษตรกรนิยมเลี้ยงกันมาก และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดี ราคาก็ถูก

          คุณนิรันดร์  เจริญยิ่ง เกษตรกร หมู่ที่ 10 บ้านท่าแซะ ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้รวมกลุ่มสมาชิกเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน จำนวน 20 ราย โดยระดมทุนในการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย เพื่อมาดำเนินการเลี้ยงปลาดุกอุย โดยเริ่มดำเนินการขุดบ่อปลาขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร จำนวน 20 บ่อ คุณนิรันดร์  กล่าวต่อไปว่า การเลี้ยงปลาดุกอุยครั้งแรกประสบความสำเร็จและได้ดีมีการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกจากหมู่บ้านข้างเคียงและได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพน้ำของการเลี้ยงปลาดุกอุยหลายแหล่ง หลังจากนั้น ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเคยได้เชิญเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีตามโครงการชีววิถี ได้มาให้เกร็ดความรู้เรื่องการใช้ EM ในการเลี้ยงปลาดุกอุยและการเลี้ยงสัตว์

          คุณนิรันดร์ กล่าวว่า การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาครั้งแรก ใส่น้ำลงในบ่อพลาสติกประมาณ 70 ลูกบาศก์เมตร และน้ำ EM จำนวน 40 CC พร้อมน้ำเปล่า 30 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 40 CC หมักไว้ 1 อาทิตย์ แต่ต้องใช้ให้หมดภายใน 15 วัน  โดยน้ำ EM ขยายใช้แล้ว จำนวน 8 ลิตร ใส่ลงไปในบ่อพลาสติกทิ้งเอาไว้ประมาณ 4-5 วัน แล้วนำปลามาปล่อยในบ่อที่เตรียมไว้ โดยอัตราการเลี้ยง 1 บ่อ เลี้ยงปลาได้ 1,000 ตัว การใช้ EM ขยาย ใช้ 2 ลิตร/สัปดาห์ เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย โดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำตลอดจนถึงจับจำหน่าย

บ่อเกษตรพลัส

          การเลี้ยงใช้เวลาในการเลี้ยงปลาประมาณ 3 เดือน (1 ปีเลี้ยงได้ 3 รุ่น) ยกเว้นช่วงฤดูหนาว เนื่องจากปลาไม่เจริญเติบโตและเกิดโรคระบาดได้ง่าย ทำในช่วงฤดูดังกล่าวถือว่าเป็นการตากบ่อทิ้งไว้สำหรับการเลี้ยงปลากรุ่นต่อไป การให้อาหารปลา การเลี้ยงปลา 1 รุ่น ใช้เวลา 3 เดือน อาหารเสริม (ไส้ไก่ ไก่บด) ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 2 กระสอบ โดยให้วันละ 2.5 กก./1 มื้อ/ 1,000 ตัว

วิธีป้องกันและกำจัดโรค
1. ควรใช้ EM ขยาย จำนวน 2 ลิตร/สัปดาห์
2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นปลาแข็งแรง และปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. อย่าให้อาหารจนเหลือ หรือมากเกินไป

การจับปลา
          เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3 เดือน ปลาจะมีขนาด 250-300 กรัม/ตัว โดยมีอัตรารอดตาย 85-90% น้ำหนักประมาณ 212.5 กก./1 บ่อ คิดมูลค่าประมาณ 7,400-7,500 บาท ขายปลีกในกก. ละ 40 บาท และขายส่งให้พ่อค้า กก.ละ 35 บาท การลงทุน คุณนิรันดร์ กล่าวว่า การลงทุนครั้งแรก ลงทุน 1,700 บาท ซึ่งบ่อพลาสติกรองพื้นเป็นวัสดุถาวรใช้ได้นานประมาณ 2-3 ปี  แผ่นละ 350 บาท จำนวนปลา 1,000 ตัวๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท ค่าอาหารสำเร็จรูปโปรตีน จำนวน 2 กระสอบๆ ละ 380 บาท เป็นเงิน 760 บาท อาหารเสริมใช้ได้ ได้แก่ ไก่บด 60 กก. ๆ ละ 4 บาท 340 บาท ค่าสาร EM 1 ลิตรๆ ละ 80 บาท กากน้ำตาล 25 กก.ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 250 บาท แต่ในการลงทุนครั้งต่อไปต้นทุนลดลงเรื่อยๆ คงเหลือแต่ซื้อพันธุ์ปลา หัวอาหารและสาร EM เท่านั้น


          นายพัชรินทร์  รักษาพราหมณ์ เกษตรอำเภอท่าฉาง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการเลี้ยงปลาดุกของเกษตรกรบ้านท่าแซะ เป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี สำหรับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในยุคปัจจุบันให้ใช้พื้นที่เพียงบางส่วนที่รกร้างว่างเปล่าทำให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้ต่อครอบครัวเป็นอย่างดี สามารถลดรายจ่ายในการบริโภคและสามารถเพิ่มรายได้ได้อีกทางหนึ่งและได้คัดเลือก ศูนย์ของคุณนิรันดร์ เจริญยิ่ง เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเคย

* * * * *
เครดิต : ขนุนกลิ้ง
ฝากกด "ถูกใจเพจ" เพจ : เกษตร นานา
เพื่อรับเรื่องราวดีดีจากเราก่อนใคร

ทำเกษตรแล้วไม่มีที่ขาย ขายได้ที่
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย สินค้าเกษตร"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.