Header Ads

Breaking News
recent

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อไต้หวันปลูกทุเรียนและลำไย เองได้แล้ว


          เทคโนโลยีการเกษตรของไต้หวันก้าวหน้ามาก ผลไม้รสชาติดีจากทั่วโลก  สามารถขยายและพัฒนาพันธุ์ได้ที่ไต้หวันแล้ว ทั้งนี้ แนวทางการจัดการไม้ผลแบบประณีตของเกษตรกรไต้หวัน ซึ่งไต้หวันถือว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง เป็นแนวทางที่ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและสม่ำเสมอ อย่างนึกไม่ถึงเลยทีเดียว

          หรือบางทีไต้หวันอาจทำควบคู่กับการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยไม่ผ่านผู้ค้าคนกลาง และสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ยินดีซื้อเพราะมั่นใจในคุณภาพเป็นสำคัญ

          วันนี้ จะขอพาท่านผู้อ่านไปดูฟาร์มซูก้าโอเรนจ์ที่เมืองไถตง (Sugar Oange Farm ) ฟาร์มแห่งนี้ มีผลไม้แปลกๆ ที่ปลูกยากหลายอย่าง เช่น  ทุเรียนหมอนทองของไทย ซึ่งปลูกยากมากในไต้หวัน แต่ปัจจุบัน สามารถปลูกได้แล้ว โดยฟาร์มแห่งนี้จำหน่ายต้นกล้าหมอนทองเสียบยอด จากต้นแม่พันธุ์ 40 ปี ในราคาต้นละ 3,000 เหรียญ ปลูกได้ทั่วเกาะ ใช้เวลา 2 ปี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้


          นอกจาก ทุเรียนหมอนทองแล้ว ยังมีลำไยไทย ผลใหญ่ เนื้อหนา หวานกรอบ เมล็ดเล็ก และเก็บผลผลิตได้ถึงปีละ 2 ครั้ง (ดีกว่าลำไยไทยเสียอีก) แต่ฟาร์มแห่งนี้จำหน่ายเฉพาะ ผลลำไยเท่านั้น ไม่มีต้นกล้าจำหน่าย


          ผลไม้อื่นๆ เช่น ลำไยน้อยหน่า แอบเปิ้ลเนื้อแดง  ส้มน้ำผึ้งนมสดไร้เมล็ด ฯลฯ โดยเปิดให้ไปเที่ยวชม หรือเก็บผลไม้เองได้ ราคาบัตรผ่านประตูคนละ 200 เหรียญ แต่ต้องจองล่วงหน้าก่อน โดยเปิดให้เข้าสวน วันละเพียง 100 คนเท่านั้น

แอบเปิ้ลเนื้อแดง

ส้มน้ำผึ้งนมสดไร้เมล็ด

          ไต้หวัน จึงเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นประเทศผลิตผลไม้แข่งขันกับไทยเรา เป็นประเทศที่ก้าวหน้าในการผลิตผลไม้คุณภาพสูงที่ไทยจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดทีเดียว และหาหนทางแก้ไขให้ได้ และหาทางป้องกันมิให้พันธุ์ไม้ผลคุณภาพดีๆ ของไทยเราต้องตกไปอยู่ต่างประเทศคู่แข่งของไทยเราได้

ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี  จากงานวิจัยสู่ชาวสวน
          ผู้เขียนบล็อกเห็นว่า  ทุเรียนพันธุ์จันทบุรีของไทยล่าสุด เป็นนวัตกรรมผลไม้ไทยที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง ที่เป็นความภูมิใจของไทย ที่ ดร.ทรงพล สมศรี หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร ได้คิดค้นวิจัยได้ทุเรียนพันธุ์ใหม่ได้สำเร็จ  ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทำงานอยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี  (เป็นพันธุ์ทุเรียนพันธุ์ใหม่สุด  ใหม่กว่าพันธุ์หมอนทองซึ่งมักจะนำมาใช้เป็นต้นพ่อพันธุ์)

ทุเรียนพันธุ์จันทบุรีนี้  แบ่งออกได้เป็นทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 1-9 ซึ่งมีลักษณะเด่นแต่ละพันธุ์ไม่เหมือนกัน  ดังนี้

จันทบุรี 1
- ลักษณะเด่น เนื้อสีเหลืองสวย รสชาติหวานมันมาก เนื้อค่องข้างละเอียด กลิ่นอ่อน เนื้อคงสภาพได้นานไม่เละ หลังจากปลิงหลุดหรือหล่น  แต่ต้องระวังโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

จันทบุรี 2
- ลักษณะเด่น  เนื้อสีเหลืองเข้ม รสชาติดี หวานมัน เนื้อเหนียวละเอียดกลิ่นอ่อน  แต่ต้องระวังโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

จันทบุรี 3
- ลักษณะเด่น  เนื้อสีเหลืองเข้มละเอียด เหนียว รสชาติดี  หวานมันต้องระวังโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

จันทบุรี 4
- ลักษณะเด่น เนื้อสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียวมาก ละเอียดกลิ่นอ่อน  ต้องระวังโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนเช่นกัน

จันทบุรี 5
- ลักษณะเด่น เนื้อสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานมันมาก เนื้อละเอียด เหนียวปานกลาง กลิ่นปานกลาง

จันทบุรี 6
- ลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง รสชาติหวานมันมาก เนื้อละเอียด เหนียวกลิ่นปานกลาง

จันทบุรี 7
- ลักษณะเด่น สีเนื้อเหลืองเข้ม อายุเก็บเกี่ยวหลังออกดอกสั้น ซึ่งเป็นทางเลือกให้ชาวสวนที่ต้องการขายผลผลิตในช่วงต้นฤดู

จันทบุรี 8
- ลักษณะเด่น มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูงประมาณ 50-60 % เนื้อมากอายุเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน ปานกลาง

จันทบุรี 9
- ลักษณะเด่น ติดผลดก รูปทรงผลสวยเต็มพู เนื้อสีเหลืองเข้มสวย

*** แม้ว่าทั้ง 6 พันธุ์ ได้ระบุว่า ควรระวังเรื่องโรครากเน่าโคนเน่า แต่ ดร.ทรงพล บอกว่า พันธุ์ที่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าได้ดีที่สุด คือ  จันทบุรี 1, จันทบุรี 4 และจันทบุรี 6

          ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี ทั้ง 9 พันธุ์นี้  นับว่าเป็นเพชรน้ำเอกของวงการทุเรียนไทยเรา  ที่ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะนานเป็นเวลาหลายสิบปีกว่าการวิจัยจะสำเร็จได้

          ดังนั้น จึงควรจะต้องหาทางป้องกันการนำต้นพันธุ์ออกไปต่างประเทศให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม  มิเช่นนั้น จะเป็นเหมือนกับในอดีตที่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆได้นำเอาพันธุ์ทุเรียนไปจากบ้านเรา ไปปลูกขยายพันธุ์ในต่างประเทศกันอย่างแพร่หลาย

          ประเทศไทยได้ชื่อว่า เป็นผู้นำด้านการผลิตและการตลาดทุเรียนของโลกมาเป็นระยะเวลายาวนาน  จึงควรจะรักษาความเป็นผู้นำนี้ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป อย่าให้ประเทศอื่นแย่งไปได้

* * * * *
ที่มา : surasak chawayanan
ฝากกด "ถูกใจเพจ" เพจ : เกษตร นานา
เพื่อรับเรื่องราวดีดีจากเราก่อนใคร

ทำเกษตรแล้วไม่มีที่ขาย ขายได้ที่
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย สินค้าเกษตร"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.