Header Ads

Breaking News
recent

วิธีการปลูกผักกาดหอม 'ให้รวย' ตามหลักวิชาการ


วิธีการปลูกผักกาดหอม 'ให้รวย' ตามหลักวิชาการ

          ผักกาดหอม เป็นพืชล้มลุกมีอายุปีเดียว มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และยุโรป มีลักษณะของลำต้นที่อวบสั้น เป็นข้อถี่ๆ ใบเจริญเป็นกลุ่มจากข้อ รูปร่างและสีสันจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ บางชนิดอาจห่อหรือไม่ห่อหัวก็ได้ มีทั้งชนิดที่ใบเป็นสีเขียวอ่อน เขียวเข้ม น้ำตาล น้ำตาลปนแดง หรือสีน้ำตาล เช่น ผักกาดแก้ว จะมีใบที่บาง สีเขียวอ่อน กรอบ ขอบใบหยัก จะห่อหัวซ้อนกันเป็นทรงกลม หรือผักกาดหอมใบแดง ใบมีสีเขียวปนแดง ขอบใบหยัก แผ่นใบหยักเป็นคลื่น ไม่ห่อหัวผักกาดหอม


          ระบบรากแก้วของผักกาดหอมสามารถเจริญในดินได้อย่างรวดเร็ว ดอกมักออกเป็นช่อ ในแต่ละช่อจะมีประมาณ 10-25 ดอก กลีบดอกมีสีเหลือง หรือสีขาวปนเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกจะบานเป็นเวลาสั้นๆ ในช่วงเช้า หรือเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ


          ผักกาดหอมมักเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่หนาวเย็น อุณหภูมิที่เหมาะกับการเจริญเติบโตจะอยู่ระหว่าง 10-24 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ หากสภาพอากาศร้อนมักจะทำให้ผักมีเส้นใยสูง เหนียว มีรสเขียว เนื่องจากมีการสร้างยางขึ้นมามาก

          ดินร่วนซุย ที่สามารถอุ้มน้ำได้ดีพอสมควร มีค่า pH อยู่ที่ 6-6.5 และมีอินทรีย์วัตถุอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จะเป็นดินที่เหมาะต่อการปลูกผักกาดหอม สถานที่ปลูกควรอยู่ในที่โล่ง และให้ได้รับแสงแดดได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน แต่ในช่วงฤดูฝนควรทำโรงเรือนให้ด้วย เนื่องจากผักชนิดนี้จะมีความบอบบางมาก

การปลูก และการดูแลรักษาผักกาดหอม


การเตรียมดินปลูก
          ขุดไถดินแล้วโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ ในอัตราส่วน 0-100 กรัม/ตรม. ตากแดดทิ้งไว้นาน 14 วัน ยกแปลงให้กว้างประมาณ 1 เมตร แล้วใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 12-24-12 และ 15-0-0 ในอัตรา 50 กก./ไร่ และปุ๋ยคอกในอัตราไร่ละ 2-4 ตัน

*** "วิธีการทำปุ๋ยหมักดินก่อนปลูก" - http://kasetnana.blogspot.com/2016/06/blog-post_40.html
*** "การเตรียมดิน" - http://kasetnana.blogspot.com/2016/09/blog-post_5.html

การเตรียมกล้า และการปลูกผักกาดหอม
          ใช้ถาดหลุมเพาะกล้า และใช้ดินเพาะที่สามารถระบายน้ำได้ดี จนกว่าพืชจะมีอายุได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แล้วจึงนำลงแปลงปลูก เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคถ้าปลูกในฤดูร้อนให้ปลูกเป็น 3 แถว โดยใช้ระยะปลูก 30×30 ซม. สำหรับในฤดูฝนให้ปลูกเป็น 3 แถว โดยใช้ระยะปลูก 40×40 ซม.

การดูแลรักษาผักกาดหอม


การให้น้ำ
          ควรให้น้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของพืช ไม่ควรให้มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้

การใส่ปุ๋ย 
          ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือผสมกับสูตร 15-15-15 อย่างละครึ่ง ใส่ในอัตราไร่ละ 50 กก. หลังจากที่ปลูกได้ 7 วัน พร้อมกับการกำจัดวัชพืช และหลังจากปลูกได้ 20-25 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 พร้อมกับกำจัดวัชพืช โดยขุดร่องลึก 2-3 ซม. ให้ห่างจากต้นประมาณ 10 ซม. แล้วโรยปุ๋ยลงไปประมาณ ½ ช้อนโต๊ะ ทำการกลบดินแล้วรดน้ำตามทันที


โรคและแมลงศัตรูพืชของผักกาดหอม

          -โรคโคนเน่า มักพบระบาดในระยะที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ 20-25 วัน

          -โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกระทู้ดำ, หนอนกินใบ มักพบระบาดในระยะที่ทำการย้ายปลูกตั้งตัว 25-30 วัน

          -โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ มักพบระบาดในระยะที่ผักห่อหัวตั้งแต่ 30-35 วัน

          -โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ มักพบระบาดในระยะของการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 50-55 วัน

การเก็บเกี่ยว ผักกาดหอม

          หลังจากการย้ายปลูกได้ประมาณ 40-60 วัน ก็ให้ทำการเก็บเกี่ยวได้ เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวคือ ตอนบ่ายหรือค่ำ โดยใช้มีดตัดให้เหลือใบนอกไว้ 3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนในขณะทำการขนส่ง เมื่อตัดแล้วไม่ควรล้างผัก แต่ให้ใช้ปูนแดงป้ายรอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่จะแพร่เข้าสู่หัวผักกาดหอม และนำไปผึ่งในที่ร่ม

          ในฤดูฝนผักสลัดจะเน่าง่ายจึงควรทำการเก็บเกี่ยวก่อนผักจะโตเต็มที่ประมาณ 2-3 วัน เพื่อป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูกหลังการเก็บเกี่ยว จึงควรเก็บซากของต้นนำไปเผา หรือฝังดินให้ลึกประมาณ 1 ฟุต

ข้อควรระวัง
-ไม่ควรปลูกในหลุมที่ลึกและใหญ่จนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการเน่าเสียหายจากการขังของน้ำได้
-ไม่ควรเดินย่ำในแปลงเพาะ เพราะเมื่อดินแน่นจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
-กล้าที่ทำการย้ายปลูกควรมีอายุไม่เกิน 30 วัน และมีความแข็งแรง
-ควรระวังศัตรูพืชพวกหนอนกระทู้ดำ และจิ้งหรีด หากมีการย้ายกล้าในช่วงฤดูฝน
-เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ ควรฉีดพ่นด้วยแคลเซียมและโบรอน 1 ครั้ง/สัปดาห์
-หากรากได้รับความกระทบกระเทือนจะส่งผลต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์ จึงควรทำการพรวนดินอย่างระมัดระวัง
-ควรใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเป็นการเตรียมแปลงปลูก
-ไม่ควรปลูกผักชนิดนี้ซ้ำที่เดิมหลายๆ ครั้ง เพราะอาจทำให้ดินเสื่อมคุณภาพได้

ปลูกแล้วไม่มีที่ขาย ซื้อ-ขาย "ผักกาดหอม" ได้ที่
VV คลิก VV

* * * * *
แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.