Header Ads

Breaking News
recent

ไผ่สีสุก ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์

ภาพ : biogang

ไผ่สีสุก ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์


ไผ่สีสุก Bambusa blumeana เป็นไผ่พื้นเมืองในหมู่เกาะอินเดีย ตะวันออก และแปซิฟิคตอนใต้ ได้แก่เกาะ สุมาตรา, ชวา, บอร์เนียว, และโมลุกกะ แต่ไผ่สีสุกได้นำมาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว จึงมีเห็นกันทั่วทุกภาคกระจายกันไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไผ่สีสุกขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มริมห้วยหรือริมแม่น้ำ สามารถเจริญเติดโตได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่ในหมู่บ้าน

ลักษณะเด่น ของ ไผ่สีสุก Bambusa blumeana
ไผ่สีสุก ขึ้นเป็นกอแน่นมากบริเวณโคน แต่ละลำจะมีการแตกกิ่งเป็นข้อตั้งฉากกับลำเป็นจำนวนมาก บริเวณโคนปล้องจะหนา ลำจะมีรู เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำยาวประมาณ 15-25 เมตร ขนาดของลำปล้อง 10-20 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา แต่ที่เป็นจุดเด่นของไผ่สีสุกคือ บริเวณข้อของกิ่งจะมีหนามแหลมคมโค้งแตกเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 3 อัน อันกลางจะยาวกว่าอันอื่น ลำเมื่ออ่อนมีสีเขียว แต่เมื่อแก่จะมีสีเหลืองปนเขียว จึงได้ขึ้นชื่อว่า "ไผ่สีสุก"

การใช้ประโยชน์ จาก ไผ่สีสุก Bambusa blumeana
ไผ่สีสุก หน่อเมื่ออยู่ใต้ดินจะมีรสชาติดี แต่เมื่อโผล่พ้นดินแล้วมักจะนิยมนำมาทำเป็นหน่อไม้ดอง มีสีขาวรสชาติเปลี่ยว สามารถเก็บได้นาน เนื้อไม้ไผ่สีสุกเนื้อหนาและเหนียวทนทานมาก จึงนิยมนำไปทำเครื่องจักสาน ทำที่อยู่อาศัยในชนบท ใช้ทำคานแบกหามเพราะมีความยืดหยุ่นได้ดีมาก และใช้ทำเยื่อกระดาษได้ ในอดีตไผ่สีสุก นิยมปลูกรอบหมู่บ้านเพื่อเป็นแนวกันลม และเป็นรั่วกันขโมยเนื่องจากไผ่สีสุกมีหนามและมีสีที่สวยงาม

ซื้อ-ขาย "พันธุ์ไผ่" ได้ที่
VV คลิก VV

* * * * *
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา - Kaset NaNa
Powered by Blogger.