ไผ่ไร่ ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์
ภาพ : Home & AMM |
ไผ่ไร่ ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์
ไผ่ไร่ Gigantochloa albociliata - มีชื่อเรียกอีกอย่าง เช่น ภาคเหนือเรียก ไม้คาย - ไม้ผาก - ไม้โล่, ภาคอีสานเรียก ไผ่ไฮ, ภาคใต้เรียก ผาก - ขาม ไผ่ไร่เป็นไม้พื้นเมืองของไทยพบได้ทั่วทุกภาคเฉพาะที่มีความชื้นสูง ได้แก่ ป่าดงดิบ บริเวณที่หุบเขาลำห้วยไหลผ่าน ขึ้นได้ในสภาพแล้งและป่าเบญจพรรณ หรือป่าโปร่ง
ลักษณะเด่น ของ ไผ่ไร่ Gigantochloa albociliata
ไผ่ไร่ เป็นไผ่ขนาดเล็ก ลำขึ้นแน่นกอ ลำจะโค้งมีความสูงประมาณ 3-4 เมตร เส้นผ่าสูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ข้อนูนเห็นได้ชัด ปล้องยาวประมาณ 15-40 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ ทั่วปล้อง ลำมีสีเขียวแกมเทา ไม่มีหนาม ผิวสาก ลำด้านมีความเรียว เนื้อไม้ไผ่ไร่จะหนาเนื้อตัน จึงได้ชื่อว่า Solid bamboo
การใช้ประโยชน์ จาก ไผ่ไร่ Gigantochloa albociliata
ไผ่ไร่ ใช่หน่อเป็นอาหาร หน่อไม้ไผ่ไร่เป็นอาหารที่นิยมกันมาก เมื่อต้มแล้วจะได้รสชาติดี โดยเฉพาะหน่อที่ยังไม่โผล่พ้นดิน ช่วงเวลาออกหน่อยาวนานตั้งแน่ฤดูฝนจนถึงปลายฤดูฝน เนื้อไม้ละเอียด และเหนียวสามารถนำไปทำเครื่องจักสานได้ดี ลำไผ่ไร่ตัดโค้งสามารถนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลายชนิด ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและในงานเกษตรกรรม ไผ่ไร่จึงเป็นพืชเศรษฐกิจและพืชอาหารที่สำคัญของชาวชนบท
ซื้อ-ขาย "พันธุ์ไผ่" ได้ที่
VV คลิก VV
กลุ่มเฟซบุ๊ก : ตลาดกลาง ซื้อ-ขายสินค้า เกษตร
* * * * *
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตรเรียบเรียงโดย : เกษตร นานา - Kaset NaNa