เหมียง ผักพื้นบ้าน และ การปลูก
ลักษณะต้นเหมียง |
เหมียง ผักพื้นบ้าน และ การปลูก
เหมียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยวคล้ายใบยางพารา กว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อกลีบดอกสีขาว ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เหมียงได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งผักพื้นบ้านของภาคใต้ ส่วนที่ใช้บริโภคคือ ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกการขยายพันธุ์ เหมียง
เหมียงขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, ใช้ต้นจากรากแขนง, ปักชำกิ่ง, และตอนกิ่ง
การปลูกเหมียง
เตรียมพื้นที่ทำร่มเงาบังแดดให้เรียบร้อย อาจจะใช้วัสดุทางธรรมชาติเช่น ทางใบมะพร้าว, ปาล์ม, ฯลฯ นำต้นพันธุ์ลงปลูก โดนระยะห่างในการปลูกจะอยู่ที่ 3x3 เมตร ตันพันธุ์ที่ใช้ต้องเป็นต้นที่แข็งแรง วางต้นพันธุ์ให้เอียง 45 องศา ในหลุมแล้วกลบดินให้พอแน่น รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ไม้หลักปักผูกเชือกให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันลม ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะจะช่วยไม่ให้เสียเวลาและแรงงานในการลดน้ำ
การให้ปุ๋ยเหมียง
ให้แบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยสูตร 12-5-14 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี กรณีปลูกร่วมในสวนยาง, สวนผลไม้ ในช่วงต้นฤดูฝน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
การเก็บเกี่ยวเหมียง
เหมียง เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยจะเก็บเกี่ยว 15-30 วันต่อครั้ง โดยเก็บยอดอ่อนถึงยอดเพสลาด ควรเด็ดให้ชิดข้อ ไม่เด็ดกลางข้อหรือตัด (เพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนในครั้งต่อไปช้า) เมื่อเก็บแล้วอย่าให้ใบหรือยอดอ่อนนั้นถูกแสงแดดและลม ควรพรมด้วยน้ำแต่อพชุ่ม สามารถเก็บได้นานประมาณ 5-6 วัน
*** โรคและแมลง ที่สำคัญของ เหมียง ถือว่ามีน้อยมาก
ซื้อ-ขาย "เหมียง" ได้ที่
VV คลิก VV
กลุ่มเฟซบุ๊ก : ตลาดกลาง ซื้อ-ขายสินค้า เกษตร
* * * * *
เมล็ดพันธุ์ผัก ฯลฯ ส่งถึงบ้าน เก็บเงินปลายทาง