ไผ่ซาง ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์
ภาพ : จากอินเตอร์เน็ต |
ไผ่ซาง ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์
ไผ่ซาง Dendrocalamus strictus มีชื่อเรียงตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน เรียง แพด, จังหวัดกาญจนบุรี เรียง ไผ่นวน - ไผ่ตาดำ, กะเหรี่ยง เรียง วะมิเลอร์ - วะเมปรี่ ฯลฯ ไผ่ซางเป็นไผ่ท้องถิ่นของประเทศไทยอีกชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบชื้นทั่วไป เช่น บริเวณหุบเข้า ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง เชียงใหม่ เป็นจำนวนมาก
ลักษณะเด่น ของ ไผ่ซาง Dendrocalamus strictus
ไผ่ซาง เป็นไผ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 6-18 เมตร ลำปล้องยาวประมาณ 15-50 เซนติเมตร ขนาดลำปล้องประมาณ 3-9 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวเมื่อยังอ่อนลำต้นจะมีสีเขียวนวน แต่เมื่อแก่จะมีสีเขียวด้านหรืออมเหลือง ไม่มีหนาม มีกิ่งขนาดเล็ก ตอนบนของลำใบห้อยลง ข้อจะพองเล็กน้อย ปล้องมีเนื้อหนาโดยเฉพาะตรงโคนจะมีปล้องหนาจนเกือบตัน
การใช้ประโยชน์ จาก ไผ่ซาง Dendrocalamus strictus
หน่อไผ่ซาง นิยมนำมาทำอาหารเพราะมีรสชาติดีกว่าหน่อไผ่ตง แต่ไมีขนาดเล็กกว่า ส่วนประโยชน์ด่านเนื้อไม้นั้นถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เช่น การทำเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุทางด้านการเกษตร ประมง ทำบวบสำหรับล่องแพ ตลอดทั้งงานด้านการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องจักสาน และยังสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำเชื่อเพลิงผลิตไฟฟ้าชีวมวลได้อีกด้วย จึงมีเกษตกรหลายรายปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก
ใบไผ่ซาง เป็นอาหารของสัตว์พวกม้า วัว ควาย ส่วนลำต้นที่อ่อน และใบเป็นอาหารของช้าง
ซื้อ-ขาย "พันธุ์ไผ่" ได้ที่
VV คลิก VV
กลุ่มเฟซบุ๊ก : ตลาดกลาง ซื้อ-ขายสินค้า เกษตร
* * * * *
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตรเรียบเรียงโดย : เกษตร นานา - Kaset NaNa