Header Ads

Breaking News
recent

มันสำปะหลัง พันธุ์ระยอง 11

มันสำปะหลัง พันธุ์ระยอง 11

ประวัติ

          เป็นพันธุ์มันสำปะหลังที่ได้จากการผสมข้าม โดยใช้พันธุ์ระยอง 5 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเป็นแม่ และพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง คือ พันธุ์ OMR29-20-118 เป็นพ่อ ในพ.ศ.2535 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ให้ผลผลิตแป้งและผลผลิตมันแห้งสูง เป็นที่พอใจของเกษตรกร โรงงานแป้งมัน และลานมันเส้น มีการกระจายพันธุ์จากเกษตรกรสู่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่รู้จักในชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า “พันธุ์เขียวปลดหนี้ ” คำว่า “เขียว” มาจากสีของลำต้น นอกจากนี้ยังมีเอกชนนำต้นพันธุ์ไปจำหน่ายให้เกษตรกร โดยใช้ชื่อว่า “พันธุ์มังกรหยก” ด้วย

ลักษณะเด่น  
          มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง เมื่อเก็บเกี่ยวในฤดูฝน มีเปอร์เซ็นต์แป้ง 25.8 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตแป้ง 1.25 ตันต่อไร่ เก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง เปอร์เซ็นต์แป้งจะสูงขึ้นเป็น 29-32 เปอร์เซ็นต์ 2. ปริมาณมันแห้งสูง มีเปอร์เซ็นต์มันแห้ง 42.8 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตมันแห้ง 2.00 ตันต่อไร่ 3. ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 4.77 ตันต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50

ลักษณะประจำพันธุ์  
          ลำต้นสีเขียวเงิน ความสูงประมาณ 170 - 220 เซนติเมตร ลำต้นโค้งเล็กน้อย มีน้ำหนักต้นดี มีการแตกกิ่ง ที่ระดับความสูงใกล้ยอด กิ่งทำมุม 60-90 องศา กับลำต้น มีจำนวนลำที่ใช้ทำพันธุ์ 1-3 ลำต่อต้น ส่วนใหญ่มี 2 ลำ ก้านใบสีเขียวอมแดง ใบกลางเป็นรูปใบหอก ใบแก่สีเขียวเข้ม ยอดอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว เปลือกนอกของหัวสีน้ำตาล เนื้อของหัวสีขาว

หัว มันสำปะหลัง พันธุ์ระยอง 11

ต้น มันสำปะหลัง พันธุ์ระยอง 11

ยอด มันสำปะหลัง พันธุ์ระยอง 11

ข้อควรระวัง  
          ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 1 ปี ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วจะให้ผลผลิตหัวสดต่ำกว่าพันธุ์รับรองพันธุ์อื่น ๆ เช่น ระยอง 5 ระยอง 72 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 เนื่องจากพันธุ์ CMR35-22-196 มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง แต่สะสมน้ำหนักช้า

มันสำปะหลัง พันธุ์ระยอง 11

ที่มา
- คัดเลือกจากการผลสข้ามระหว่างระยอง 5 เป็นแม่ และ CMR29-20-118 เป็นพ่อ ที่ศวร. ระยอง

ปีรับรอง
- 2553

คุณสมบัติ
- ผลผลิตหัวสด 4.77  ตัน / ไร่
- แป้งที่เก็บเกี่ยวในฤดูฝน 25.8  %
- แป้งที่เก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง 42.8  %
- อื่นๆ ทนความแห้งแล้งได้ดี

ข้อดี
- มีเปอร์เซนต์แป้งสูง ให้ปริมาณแป้ง และแป้งมันแห้งสูง ทนความแห้งแล้งได้ดี


ที่มา - กรมวิชาการเกษตร

Powered by Blogger.