Header Ads

Breaking News
recent

การปลูกอ้อย (ตอนที่ 2/4) การดูแลรักษาอ้อย


การปลูกอ้อย (ตอนที่ 2/4) การดูแลรักษาอ้อย

การดูแลรักษาอ้อย
  1. การควบคุมและกำจัดวัชพืช
    วัชพืชเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงเนื่องจากวัชพืชจะแย่งธาตุอาหาร ความชื้นในดิน และแสงแดด เป็นแหล่งสะสมหรือเป็นที่อาศัยของโรคและแมลงที่สำคัญ ไม่ควรปล่อยให้วัชพืชขึ้นแข่งขันกับอ้อยในแปลงปลูกนาน เพราะในระยะที่หน่ออ้อยเพิ่งเริ่มงอก หากมีวัชพืชมาก อ้อยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่เพราะถูกแย่งน้ำและอาหารหลังจากนั้นการแตกกอจะมีน้อย และยังอาจมีผลทำให้การย่างปล้อง (คือส่วนของ intercalary meristem หรือ growth ring มีการยืดตัว) ไม่เต็มที่ เป็นต้น ทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด


    การให้น้ำ
    ให้น้ำอ้อยควรคำนึงถึงระยะการเจริญเติบโต แบ่งเป็น 4 ระยะดังนี้
    • ระยะงอก (0-1 เดือน) หลังจากการปลูก อ้อยต้องการความชื้นที่เหมาะสม
    • ระยะหลังจากงอก (1-2 เดือน)อ้อยต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำทุกๆ 10-14 วัน
    • ระยะแตกกอจนถึงระยะย่างปล้อง (อายุประมาณ 2-6 เดือน) อ้อยต้องการน้ำมาก อ้อยมีระบบรากสมบูรณ์สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารที่อยู่ไกลจากโคน
    • ระยะก่อนเก็บเกี่ยว (อายุ 9-10 เดือนขึ้นไป) อ้อยต้องการน้ำน้อย เริ่มมีการสะสมน้ำตาล ควรงดให้น้ำแก่อ้อย 1-1.5 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยว
    วิธีการให้น้ำแก่อ้อย มี 3 แบบ คือ
    • การให้น้ำตามร่อง (furrow irrigation) ความลาดเท 0.5-3
    • การให้น้ำแบบฝอยหรือฝนเทียม (sprinkler irrigation)
    • การให้น้ำแบบหยด (drip irrigation)
    การพูนโคน
    การพูนโคนควรทำหลังจากที่อ้อยมีการแตกกอแล้ว เพื่อทำให้กออ้อยแข็งแรงไม่ล้มง่าย เนื่องจากทำให้โคนอ้อยมีการเกิดรากและการเจริญเติบโตของรากดีขึ้น

    * * * * * *

    การปลูกอ้อย (ตอนที่ 1/4) การเตรียมดิน และการปลูกอ้อย

    การปลูกอ้อย (ตอนที่ 2/4) การดูแลรักษาอ้อย

    การปลูกอ้อย (ตอนที่ 3/4) การบำรุงดินและการใส่ปุ๋ย

    การปลูกอ้อย (ตอนที่ 4/4) การบำรุงรักษาตออ้อย


    ที่มา : Easternsugar


Powered by Blogger.