Header Ads

Breaking News
recent

วัชพืช และการควบคุมกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย


วัชพืช และการควบคุมกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย

ชนิดของวัชพืช

  1. วัชพืชใบกว้าง เป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่  ลักษณะแผ่นใบกว้างเมื่อเทียบกับความยาวใบ เส้นใบจัดเรียงเป็นร่างแหหรือตาข่าย การขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ด เช่น ผักเบี้ยหิน โคกกระสุน ผักยาง สาบเสือ ฯลฯ
  2. วัชพืชใบแคบ เป็นวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะแผ่นใบแคบเมื่อเทียบกับความยาวใบเส้นใบจัดเรียงลักษณะขนานกับด้านใบ การขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดรากและลำต้น ฯลฯ วัชพืชพวกนี้มี 2 กลุ่ม คือ
    1. วงค์หญ้า จะมีลำต้นกลม ข้อปล้องชัดเจน มีจุดเจริญอยู่ใต้ดิน และตามข้อ เช่น หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก ฯลฯ
    2. วงค์กก จะมีลำต้นส่วนใหญ่เป็นเหลี่ยม แต่ไม่มีข้อปล้องเหมือนกับวัชพืชอื่น เช่น กกทราย แห้วหมู ฯลฯ
ความรุนแรงของวัชพืช
     วัชพืชแต่ละชนิดจะมีความรุนแรงต่ออ้อยแตกต่างกัน เช่น วัชพืชใบแคบจะมีความรุนแรงมากกว่าวัชพืชใบกว้าง วัชพืชอายุยาว (หลายฤดู) จะมีความรุนแรงกว่าวัชพืชอายุสั้น (ฤดูเดียว) ความหนาแน่นวัชพืชมากจะมีความรุนแรงต่ออ้อยมากตามไปด้วย

การแข่งขันระหว่างอ้อยและวัชพืช
     ถึงแม้ประเทศไทยจะผลิตน้ำตาลส่งออกเป็นสำคัญต้นๆ ของโลก แต่ถ้าพิจารณาในด้านผลผลิตอ้อยต่อไร่ ยังถือว่าต่ำกว่าต่างประเทศมาก สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตอ้อย คือ วัชพืชซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมากที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยการแย่งธาตุอาหาร ความชื้น แสงแดด และเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงหลายชนิด นอกจากนี้การกำจัดวัชพืชของชาวไร่ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสม  เช่น มักกำจัดวัชพืชเมื่อวัชพืชงอกแล้ว และมีปริมาณมาก หรือ หลังวัชพืชออกดอกหรือเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชไม่เหมาะสม ฯลฯ
     อ้อยเป็นพืชปลูกที่ต้องการช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 3 - 4 เดือน ดังผลงานวิจัยของ เกียวพันธ์ สุวรรณรักษ์และคณะ พบว่า
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  1 - 4 เดือน  ผลผลิต  16.2 ตัน/ไร่
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  2 - 4 เดือน  ผลผลิต  12.1 ตัน/ไร่  25.3%
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  3 - 4 เดือน  ผลผลิต  9.5 ตัน/ไร่  41.1%
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  4 เดือน  ผลผลิต  5.7 ตัน/ไร่ 64.8%
  • การกำจัดวัชพืชเมื่ออ้อยอายุ  5 เดือน  ผลผลิต  2.5 ตัน/ไร่  84.6%
  • ไม่กำจัดวัชพืช ผลผลิต  1.9 ตัน/ไร่  88.3%
ดังนั้น ชาวไร่จำเป็นต้องควบคุมวัชพืช ให้ทันเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่

การกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย
     หมายถึง  วิธีการจัดการลดการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างอ้อยกับวัชพืชซึ่งมีหลายวิธีการ  เช่น การใช้การเขตกรรม  การใช้เครื่องมือเครื่องจักรและการใช้สารเคมี วิธีการจัดการวัชพืชในไร่อ้อยจะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องผสมผสานวิธี การให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากต้นทุนและผลกำไรเป็นหลัก

หลักสำคัญการกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย
  1. ต้องเตรียมดินดี จะต้องให้เศษวัชพืชเก่าตายให้หมด
  2. ต้องให้อ้อยมีช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงย่าปล้อง)
  3. อ้อยที่ปลูกต้องงอกดี  และสม่ำเสมอ
วิธีการกำจัดวัชพืชที่นิยมมี 3 วิธี
  1. การกำจัดวัชพืชด้วยการเขตกรรม
  2. การกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือเครื่องจักร
  3. การกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี

การกำจัดวัชพืชด้วยเขตกรรม
     การกำจัดวัชพืชด้วยเขตกรรมถือว่าเป็นการจัดการวัชพืชเชิงอนุรักษ์  โดยอาศัยประสบการณ์หลายด้าน ทั้งในด้านพืช  สภาพแวดล้อมและการจัดการ เพื่อลดความรุนแรงของวัชพืชเท่านั้น ถึงแม้การควบคุมวัชพืชไม่ดีมากเหมือนวิธีอื่นๆ แต่การลงทุนน้อยมากๆ เพราะอาศัยประสบการณ์ที่เรียกว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน การกำจัดวัชพืชด้วยเขตกรรมให้มีประสิทธิภาพต้องผสมผสานกับวิธีอื่นๆ เช่น
  1. ฤดูปลูก เช่น การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
  2. ระยะปลูก เช่น ระยะแคบ 80 ซม. ฯลฯ
  3. พันธุ์อ้อย (งอกเร็ว แตกกอ ทรงกอกว้างใบใหญ่)
  4. วัสดุคลุมดิน เช่น ใบอ้อย ฯลฯ
  5. การปลูกพืชแซม (ต้องเก็บเกี่ยวก่อนอ้อยแตกกอ)

การกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือเครื่องจักร
     เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก แต่วิธีการนี้จะต้องใช้เงินทุนครั้งแรกสูงสุดกับเครื่องจักร เครื่องมือ แต่เมื่อเทียบระยะเวลาที่ใช้คนและปริมาณงานที่ได้แล้วถือว่าเป็นการกำจัด วัชพืชที่มีต้นทุนต่ำ วิธีการนี้เหมาะสมกับไร่อ้อยขนาดใหญ่ และมีปัญหาด้านแรงงานด้วย
ประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือขึ้นอยู่กับ
  1. ชนิดดินและการเตรียมดิน
  2. ชนิดความหนาแน่นและขนาดวัชพืช
  3. ฤดูกาลและช่วงเวลาทำงาน
  4. ทักษะและประสบการณ์ทำงาน
เครื่องมือในการกำจัดวัชพืช แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
  1. เครื่องต้นคำสั่ง (แทรกเตอร์) จะบ่งถึงปริมาณงานที่ได้หรือความเร็วในการทำงานมีหลายขนาด เช่น แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
  2. ชนิดเครื่องมือเกษตร การใช้เครื่องมือจะขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และปริมาณวัชพืช มี 3 กลุ่มใหญ่ๆ
    1. คราด เช่น คราดสปริง คราดขาแข็ง คราดลูกหญ้า
    2. พรวน เช่น พรวน 6จาน พรวน 12จาน
    3. จอบหมุน

การกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีในไร่อ้อย
  1. สารคุมวัชพืช ฉีดหลังปลูก หลังตัดแต่งตอพรวนดินใส่ปุ๋ยก่อนวัชพืช
    1. อิมาซาฟิค+เพนดิเมทาสิน (คาเดร+สตอมฟ์) สามารถฉีดพ่นได้แม้ดินชื้นน้อย ควบคุมได้ทั้งใบแคบ ใบกว้าง และแห้วหมู
      ข้อดี หน้าดินถูกรบกวน ยายังคงประสิทธิภาพดีกว่าสารชนิดอื่น
      ข้อเสีย คุมวัชพืชตระกูลถั่วไม่ได้ อัตรา 50 ซีซี+400 ซีซี/1 ไร่
    2. อาทราซีน ไดยูรอน เมตริบูซีน คุมได้ทั้งใบแคบและใบกว้าง มีทั้งเม็ดและผง ขณะฉีดดินต้องมีความชื้น ถ้าดินแห้งจะไม่ได้ผล หลังฉีดห้ามเข้าไปรบกวนหน้าดิน อัตรา 125 กรัม/1 ไร่
  2. สารคุมและฆ่าวัชพืช  ฉีดหลังปลูกหลังจากแต่งตอพรวนดินใส่ปุ๋ยก่อนวัชพืชงอกหรือหลังวัชพืช
    1. สารที่มีชื่อการค้าลงท้ายด้วย คอมบี พวกนี้จะฉีดพ่นดินต้องมีความชื้น อัตราตามฉลาก
    2. เฮกซาซิโนน+ไดยูรอน (เวลปาร์-เด) ฉีดพ่นในดินชื้นน้อยห้ามพ่นทับยอดอ้อย พื้นที่ต่ำน้ำขังหรือสภาพแวดล้อมเป็นนข้าว ไม่ควรใช้อัตรา 375-500 กรัม/ไร่
    3. พาราควอท+อาทราซีน หรือพาราควอท+เมตริบูซีน ฉีดทับยอดอ้อยได้ในที่ที่อ้อยเริ่มงอกใบยังไม่คลี่  คือ มี  5-4  ใบ พาราควอทจะฆ่าสารคุมจะได้อีก 2-3 เดือน อัตราพาราควอท 50 ซีซี+อาทราซีน 400–600 กรัม/1 ไร่
  3. สารฆ่าวัชพืช
    1. สัมผัสตาย ฆ่าสีเขียวทุกชนิด เช่น พาราควอท อัตรา 300-500 ซีซี/ไร่
    2. ดูดซึม จะดูดซึมเข้าทางใบและทางรากจะทำให้วัชพืชตายถึงรากถึงเหง้า
    • ไกลโฟเซท จะดูดซึมทางใบถ้าดินชื้นจะดูดซึมทางรากทำให้วัชพืชถึงรากถึงโคน แต่จะใช้เมื่ออ้อยย่างปล้องแล้วถ้าใช้กับอ้อยเล็กจะกระทบกับอ้อย อัตรา 500–750  ซีซี/ไร่
    • อะมีทรีน มีทั้งเม็ดและผงฉีดพ่นเมื่อวัชพืชงอกมีใบ 3-4 ใบหรือไม่เกิน 15ซม. สามารถฉีดทับอ้อยได้โดยไม่ชงักยกเว้น พันธุ์ฟิลิปปินส์ต้องฉีดขณะดินมีความชื้น
    • ทูโพดี ใช้กำจัดเถาวัลย์เชือกเถาและใบกว้างอื่นๆ ในไร่อ้อยและปลอดภัยต่อต้นอ้อย
    • บาซาเซ่ ใช้กำจัดวัชพืชทั้งใบแคบและใบกว้าง อัตรา 660–760 ซีซี/ไร่

เทคนิคการใช้สารคุมและฆ่าวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ
  1. ชนิดของสารกำจัดวัชพืช ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
  2. คุณภาพของน้ำมีใช้ฉีดพ่น การหลีกเลี่ยงการใช้น้ำขุ่นหรือน้ำสกปรกมาก
  3. อัตราสารและปริมาณน้ำมีใช้ต่อพื้นที่ ต้องทราบปริมาณน้ำที่ใช้ต่อใช้ จึงจะให้การฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพราะอัตราสารที่ใช้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำที่ใช้ต่อไร่ ถ้าหากคำนวณปริมาณน้ำผิดพลาด นอกจากไม่ได้ผลแล้ว อาจเกิดอันตรายต่อต้นอ้อยด้วย  เนื่องจากได้รับสารน้อยหรือมากเกินไป
  4. สภาพก่อน/หลังฉีดพ่น เช่น ความชื้นฝน แสงแดด ลม ฯลฯ
  5. ต้องฉีดพ่นให้สม่ำเสมอและทั่วถึง

การวัดปริมาณน้ำที่ใช้ต่อพื้นที่ในการฉีดสารเคมีในไร่อ้อย
วัตถุประสงค์ :เพื่อให้ทราบปริมาณน้ำที่ใช้ต่อไร่
วัสดุอุปกรณ์
  1. สายเทปวัดระยะ
  2. มาตรวัดน้ำ 1 ลิตร
  3. ถ้วยตวงน้ำทรงกรวย
  4. ถังน้ำพลาสติก
  5. นาฬิกา
  6. เครื่องฉีดยา 1 ชุด
  7. รถไถ
  8. รถบรรทุกน้ำ
  9. ยา
  10. แรงงาน
วิธีการปฏิบัติ
     โดยการใช้ระยะเวลา 1 นาที/1 หัวฉีด (การทดสอบต้องเช็คทุกหัวฉีด)
ติดตั้งปั้มฉีดยาเสร็จ ติดเครื่องปั้มเปิดวาร์ว ตรวจเช็คความสม่ำเสมอของหัวฉีด เตรียมวัสดุต่างๆ ให้พร้อม เช่น ถังพลาสติก ถ้วยตวง  ฯลฯ เช็คน้ำเดินสม่ำเสมอทุกหัวฉีด จับเวลาพร้อมใช้ถังพลาสติกกรองรับน้ำจากหัวฉีด 1 หัว โดยจับเวลา 1 นาที พอครบนำถังน้ำออกมาทำการวัดโดยเทใส่กระบอกลิตรว่าได้จำนวนเท่าใด (มาตรฐาน  170–180  ลิตร/ไร่)
     วัดน้ำเสร็จให้ทำการวัดระยะโดยการเคลื่อนไหวรถไถไปข้างหน้าพร้อมกับเดิน เครื่องฉีดยาโดยจับเวลา 1 นาที วัดจากเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด 1 นาที วัดระยะดูว่าเท่าไหร่ (ประมาณ 50 เมตร) และทำการวัดความกว้างของหัวฉีดด้วยทั้งหมดได้เท่าไหร่

การคำนวณ

น้ำ 1 หัวฉีด X จำนวนหัวทั้งหมด = น้ำที่ใช้ทั้งหมดต่อนาที เช่น 1 หัวฉีด 1 นาที วัดน้ำได้ 5 ลิตร
ถ้าทั้งหมดมี  8  หัว = 5 X 8
1 นาที จะใช้น้ำ = 40 ลิตร (8  หัวฉีด)
การคำนวณพื้นที่ = ความกว้างของหัวฉีดทั้งหมด X ระยะความยาวที่วัดได้ 1 นาที
สมมุติความกว้าง = 7.5  เมตร
ความยาว/นาที  = 50  เมตร
1 นาทีจะวัดได้พื้นที่  = 7.5 X 50
= 375  m2
ถ้าพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้น้ำเท่าไหร่
= 5 X 8 = 40 ลิตร/นาที
= 7.5 X 40 = 375 m2
ถ้าพื้นที่ 1 ไร่ = 1600  m2  จะใช้น้ำ = 40 คูณ 1600 หาร 375
1 ไร่ จะใช้น้ำ = 170.66 ลิตร/ไร่
การใส่ปริมาณยาก็ปฏิบัติตามฉลากได้

การปรับตั้งเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตามความต้องการ
  1. ปรับเปลี่ยนขนาดของหัวฉีดยา
  2. เพิ่มหรือลดจำนวนหัวฉีดยา
  3. เพิ่มหรือลดความเร็วของรถฉีด
  4. เพิ่มหรือลดแรงดันของปั้มฉีดยา ฯลฯ


* * * * * *

ที่มา :easternsugar

Powered by Blogger.