โรคโคนเน่า โรครากเน่า แตงเคอร์ที่กิ่ง ผลเน่า ในทุเรียน
รา Lasiodiplodia sp. เข้าทำลายง่ามกิ่ง |
โรคโคนเน่า โรครากเน่า แตงเคอร์ที่กิ่ง ผลเน่า ในทุเรียน
อาการของโรค :เชื้อเข้าทำลายระบบรากทำให้รากต้นทุเรียนเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อรากเน่ามากใบทุเรียนระดับปลายกิ่งจะแสดงอาการซีดเหลืองซะงักการเจริญเติบโตและต่อมาจะร่วงใบระดับโคนกิ่งจะร่วงช้ากว่า อาการเน่าที่ดคนจะปรากฎจุดฉ่ำน้ำและมักมีน้ำเยิ้มอกมา เมื่อใช้มีดถากดูจะพบว่ามีน้ำไหลทะลักออกมา เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มแสดงอาการลุกลามเน่ารอบโคน ต้นทำให้ทุเรียนใบร่วงหมดต้น ยืนต้นแห้งตายในเวลาต่มา ในสภาพที่ความชุ่มชื้นสูงและมีฝนตกชุก เชื้อราแพร่กระเซ็นเข้าทำลายกิ่งโตๆ ทำให้เป็นจุดชุ่มน้ำและเนื้อเยื่อเปลี่ยนสี ต้นทุเรียนแสดงอาการใบเหลืองเป็นกิ่งๆ เนื้อเยื่อกิ่งที่เป็นโรคจะยุบตัวลง เชื้อราเข้าทำลายใบ ทำให้เกิดเป็นจุดกลมสี น้ำตาล และแพร่กระเซ็นเข้าสู่ผลมักแสดงผลเน่าเป็นจุดสีน้ำตาลขยายโตทำให้ผลร่วง มักพบกับทุเรียนระยะใกล้แก่ 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว ผลทุเรียนที่แก่จัดแสดงจุดเน่าสีน้ำตาลมักแตกมีเชื้อราชนิดอื่นเข้าทำลายซ้ำเดิม เช่น Lasiodiplodia sp. ทำให้นื้อผลทุเรียนมีสีดำ ผิวผลทุเรียนที่เน่าร่วงที่พื้นดินในระยะแรกๆ มักปรากฎขุยสีขาวของเส้นใยและซูโอสปอร์แรงเจียม (zoosporangium ) ของเชื้อราPhytophthora palmivora
สาเหตุ :
เชื้อรา Phytophthora palmivor Butler
การแพร่ระบาด :
ในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีมีน้ำขังเชื้อราแพร่ระบาดทำลายทางรากและลุกลามสู่โคนต้น แต่ในสภาพที่มีฝนตกชุกและอากาศชุ่มชื้นจะแพร่ระบาดทางลมเข้าสู่ใบกิ่งและผล ในการตรวจแยกเชื้อราจากเนื้อเยื่อที่เปนโรคมักมีรา Lasiodiplodia ปนเปื้อนมาด้วยเสมอ
การป้องกันกำจัดโรค :
ปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุจากปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ลงดินเป็นการเพิ่มวิธีควบคุมเชื้อโดยชีววีนะรรมชาติหรือใส่เชื้อไตรโคเดอร์มาที่มีขายเชิงการค้าลงดิน ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ได้ผลดีกับรา Phytophthora sp. เช่น เมทาแลกซิล (metalaxyl หรือฟอสแอททิลอะลูมินัม โดยฉีดพ่นผสมกับสารแมนโคเซปให้ทั่วทั้งต้น กิ่ง ใบ และผล สำหรับสวนทุเรียน ที่มีการระบายน้ำไม่ดีต้องมีการแข้ไขให้สามารถควบคุมระดับน้ำได้ การราดดินด้วยเมทาแลกซิลเพื่อป้องกันรากเน่าอาจได้ผลเล็กน้อยในต้นทุเรยนขนาดเล็ก การตัดแต่งเนื้อเยื่อที่เน่าเป็นสีน้ำตาลออกให้หมดแล้วรีบทาสารดังกล่าวจะเป็นการรักษาโรคและทำให้เนื้อยื่อสร้างลำต้นใหม่ การเก็บผลทุเรยนที่เน่าร่วงบริเวณโคนต้นเผาทำลายจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคได้อย่างมาก การจุ่มผลทุเรยนภายหลังเก็ยเกี่ยวในสารฟอสแอททิลอะลูมินัมจะลดการเน่าเสียระยะหลังเก็บเกี่ยว
* * * * * *
ที่มา : รศ. นิพนธ์ วิสารทานนท์ - โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด - 2542