มะระลูกผสม (มะระจีน) โดยใช้อินทรีย์ – ชีวภาพ
มะระเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งซึ่งสามารถทำเป็นอาชีพเสริม
หรือเป็นอาชีพหลักก็ได้
หรือทำเป็นธุรกิจของครัวเรือนในการประกอบอาชีพที่ยั่งยืนได้
เนื่องจากราคาไม่ตกจนมากมายเหมือนผักชนิดอื่นๆ มะระเป็นพืชผักที่ทางตลาดต้องการมากไม่ว่าจะฤดูกาลอะไร
เช่นตรุษจีน , สาทจีน , เทศกาลกินเจ และอื่นๆ
มะระเป็นพืชผักที่ปลูกง่ายแต่ไม่ชอบน้ำแฉะการใช้น้ำน้อยแต่มะระจะพิเศษกว่าพืชผักอื่นๆ
คือ ต้องห่อและให้ความสนใจให้มาก และเป็นคนที่สังเกตบ่อย ,
แต่ให้ผลผลิตที่คุ้มค่ามาก
มะระมีอายุการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45
วันหรือเดือนครึ่งจากการเก็บเกี่ยวจนหมดประมาณ 2 เดือน (การเก็บเกี่ยว
วันเว้นวัน)
การลงทุนมะระ 1 ไร่ จะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 20,000 บาท (ยังไม่มีอุปกรณ์ใดๆคือต้องซื้อทั้งหมด)
-
ค่าไถ 1,000
บาท
-
ค่าผ้ายาง 1,500 บาท
-
ค่าแป๊บน้ำ 2,000
บาท
-
ค่าสาย PE 5,000 บาท
-
ค่าเมล็ดพันธุ์ 900 บาท
-
ค่าไม้ปักค้าง 3,000
บาท
-
ค่าตะคัด 1,500
บาท
-
ค่าอื่นๆ เช่น น้ำมัน 5,100 บาท
- ปุ๋ยรองพื้น(อาจทำเอง)
ค่าใช้จ่ายตลอดรุ่น (1ไร่)
- ลงทุน 20,000 บาท
- ค่าถุงแพ็กมะระ 2,700 บาท
- ค่าถุงแพ็กมะระ 2,700 บาท
- ค่ากระดาษกุแพ็กมะระ
20 โล = 280 บาท
- ค่าน้ำมัน 4,000 บาท
หรืออาจใช้ไฟฟ้า
- ค่าแรงงาน 3,000 บาท
รวม 29,980
บาท
ผลผลิตต่อไร่ต่อรุ่น
( โดยเฉลี่ย )
1รุ่นของมะระโดยประสบการณ์จะเก็บได้
30 ครั้ง โดยเก็บวันเว้นวัน (ถ้ามากกว่านี้ถือว่าอยู่ในความสนใจหรือไม่สนใจของเกษตรกรเอง)
การเก็บหนึ่งครั้งจะได้มะระประมาณ
200 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยราคา 1 กิโลกรัม
= 15 บาท โดยเฉลี่ย
รวมอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต 30
ครั้ง ได้มะระ 6,000 กิโลกรัมรวมเป็นเงิน
90,000 บาท
ส่วนโรค – แมลงมะระ
1.
เชื้อรา
- เชื้อราตากบ
- เชื้อราแป้ง เป็นราน้ำค้าง อาจใช้ไตโค 1 เดอม่าได้แต่มี แต่มีความยุ่งยากในการทำ ( จึงใช้ชีวภาพ )
- เชื้อราเน่าคอดิน
เป็นราในดิน ใช้ไตโคเดอม่า ( ราฆ่ารา ) ตามท้องตลาด อนึ่งขณะนี้ตามท้องตลาดได้มีชีวภาพขายมากมายเพราะบริษัทผลิตแข่งขันกันมากและราคาไม่แพง ( พอกับที่เราทำเอง )
เป็นราในดิน ใช้ไตโคเดอม่า ( ราฆ่ารา ) ตามท้องตลาด อนึ่งขณะนี้ตามท้องตลาดได้มีชีวภาพขายมากมายเพราะบริษัทผลิตแข่งขันกันมากและราคาไม่แพง ( พอกับที่เราทำเอง )
แมลง
แมลงที่เป็นปัญหาของมะระคือ หนอน ,
แมลงวันทอง , เพลี้ย
-
หนอนใยผัก กินใบผัก , ลุกมะระ ใช้เชื้อ PT
(เชื้อ PT เป็นเชื้อที่สกัดจากเนื้อเยื้อหนอนหรือที่เรียกว่าหนอนฆ่าหนอน)
- หนอนกระทู้หนังเหนียว เจาะลูกมะระกินใบ ยาเชื้อ PT
- แมลงวันทอง ต่อยลุกเท่า ใช้ยาเหม็นใส่ หรือยาล่อฆ่า หรือใช้วิธีการห่อ
- เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ
ทำให้ยอดไม่เดิน วิธีสังเกต ยอดตก ,
ขนลู่
- เพลี้ยไฟ – ไรแดง ดูดน้ำเลี้ยงทำให้ใบหยิก
( เป็นเฉพาะหน้าร้อน )
สรุป
การทำมะระจีนมะระลุกผสมเป็นพืชผักเศรษฐกิจที่น่าทำเป็นธุรกิจ
หรืออาชีพเสริมได้ทั้งนั้นและเหมาะสมกับฤดูถ้าทำแบบครอบครัว
จะทำให้มีรายได้เข้ามากขึ้นและเป็นการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ควรเริ่มต้นน้อยไปหามาก และควรศึกษาให้ดี ต้องรู้เขารู้เรา
แล้วท่าจะสำเร็จความมุ่งหมาย
* * * * * *