โรคของแตงกวา และวิธีป้องกันแก้ไข
โรคของแตงกวา และวิธีป้องกันแก้ไข
แตงกวามีโรคที่เป็นศัตรูสำคัญ ได้แก่1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora
ลักษณะอาการ
เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมากๆ แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูงในบริเวณที่ปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ
โรคราน้ำค้าง |
การป้องกันกำจัด
คลุกเมล็ดแตงด้วยโคโค-แม็กซ์ก่อนปลูก เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ซึ่งควรฉีดพ่นด้วยโคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง นำไปฉีดพ่นในตอนเย็น ทุก 3-5 วัน กรณีที่มีการระบาด หรือ 7-15 วัน ในกรณีใช้เพื่อเป็นการป้องกัน
โรคใบด่าง แตงกวา |
2. โรคใบด่าง (Mosaic) เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus
ลักษณะอาการ
ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง
การป้องกันกำจัด
ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใดๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาดแปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ เช่น เพลี้ย ไรแดง แมลงหวี่ขาว ซึ่งแมลงศัตรูพืชสามารถกำจัดได้ด้วยลาเซียน่า อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็น
3. โรคผลเน่า (Fruit rot) เชื้อสาเหตุ Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea
ลักษณะอาการ
มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่ สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกำจัด
ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล และควรฉีดพ่นด้วยโคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง นำไปฉีดพ่นในตอนเย็น ทุก 3-5 วัน ในกรณีที่มีการระบาด หรือ 7-15 วันในกรณีใช้เพื่อเป็นการป้องกัน
โรคราแป้ง แตงกวา |
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ Oidium sp.
ลักษณะอาการ
มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อมๆ กระจายทั่วไป เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกำจัด
ควรฉีดพ่นด้วยโคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง นำไปฉีดพ่นในตอนเย็น ทุก 3-5 วัน ในกรณีที่มีการระบาด หรือ 7-15 วัน ในกรณีใช้เพื่อเป็นการป้องกัน
ปลูกแล้วไม่มีที่ขาย ซื้อ-ขาย "แตงกวา" ได้ที่
VV คลิก VV
กลุ่มเฟซบุ๊ก : ตลาดกลาง ซื้อ-ขายสินค้า เกษตร
* * * * *
แชร์...ตรงนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV