Header Ads

Breaking News
recent

9 ดอกไม้ไทยสวย ๆ และแถมยังกินได้อีกด้วย


9 ดอกไม้ไทยสวย ๆ และแถมยังกินได้อีกด้วย

          หากพูดถึงดอกไม้ เชื้อว่าหลายๆคนคงจะนึกถึงแต่เรื่องสวยๆงามๆ แต่ใครจะคิดบ้างว่าดอกไม่จะกินได้ อ่านไม่ผิดหรอกครับ "กินได้" และในประเทศไทยของเราก็มีดอกไม้ที่กินได้อยู่หลายชนิด วันนี้เกษตร นานา จะยกตัวอย่างดอกไม้ที่กินได้มา 9 อย่างมาให้อ่าน อยากรู้แล้วใช้มั้ยละครับ ตามมาเลย


1. ดอกดาหลา
          ลักษณะดอกตูมและหน่ออ่อนจิ้มน้ำพริก แกงเผ็ด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ หรือปรุงแบบยำ ใส่เนื้อหมูนึ่งสุกหั่นบางๆ และใส่แตงกวาจะช่วยให้มีรสหวาน รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม แก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง


2. ดอกผักเสี้ยน
          สรรพคุณ ช่วยบำรุงเลือดลม บำรุงร่างกายและให้พลังงาน ผักเสี้ยนมีสารต้านอนุมูลอิสระ นิยมใช้ทำเป็นผักดองไว้รับประทาน ผักที่ดองจะมีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปแกงใส่กระดูกหมู แกงส้มกุ้งหรือปลา นอกจากนี้ยังนำมาต้มหรือลวกให้สุก เพื่อช่วยลดความขมและกลิ่นเหม็นเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ขาดสารอาหาร เช่น การขาดวิตามินเอ หรือเป็นโรคโลหิตจาง มีปัญหาเรื่องระบบลำไส้ เพราะนอกจากจะมีเส้นใยอาหารสูงแล้วยังสามารถช่วยขจัดสิ่งตกค้างที่อยู่ในลำไส้ได้อีกด้วย


3. ดอกอัญชัน
          สรรพคุณอัญชันน้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายเครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกายมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย ประโยชน์ของดอกอัญชัน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก) อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก) ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด) ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตามเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก) ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก) นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง (ราก) ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด) อัญชันสรรพคุณใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ) แก้อาการปัสสาวะพิการ สรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก) ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผักก็ได้ เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้ น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก) ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก) ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม


4. ดอกโสน
          สรรพคุณของโสนดอกโสนมีรสจืด มัน เย็น มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นยาสมานลำไส้ใช้แก้อาการปวดมวนท้องนำมาปรุงเป็นยาพอกแผลได้ ดอกใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย


5. หัวปลี
          "หัวปลี" ซึ่งถือว่าเป็นดอกของต้นกล้วย ซึ่งจะเติบโตไปเป็นผลกล้วยต่อไป มีคนนิยมนำหัวปลีมาทำเป็นอาหารกันมาก และกินได้ทั้งแบบดิบหรือสุก แบบดิบก็มักจะมาในรูปของผักที่เป็นเครื่องเคียง เช่นในผัดไทยเป็นต้น รสชาติจะฝาดๆ แต่ถ้านำไปปรุงให้สุก ไม่ว่าจะเป็นต้มยำหัวปลี แกงไก่ใส่หัวปลี รสชาติก็จะนุ่ม มีรสหวานนิดๆ (คล้ายเนื้อไก่เลย)

          หัวปลี ถือเป็นอาหารบำรุงน้ำนมของผู้หญิงที่กำลังมีบุตร ดังนั้นคุณแม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูกก็ควรจะกินอาหารที่มีหัวปลีเป็นส่วนประกอบให้มากๆ ระหว่างที่ยังให้นมลูก และนอกจากนั้นก็ยังมีแร่ธาตุอย่างธาตุเหล็กอยู่มากอีกด้วย และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผลวิจัยพบว่าหัวปลีนั้นยังช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารได้ด้วย โดยการทดลองนั้นพบว่าการใช้สารสกัดจากหัวปลีสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้มากถึง ๔๗.๘๘-๘๗.๖๓% โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการดื่มสุราอยู่เป็นประจำ


6. ดอกกุยช่าย
          กุยช่ายทางยาสมุนไพรมีสรรพคุณมากมาย เช่น ต้นและใบ ใช้แก้โรคนิ่วโดยนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้า และสารส้มเล็กน้อยกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืด แก้ลมพิษ สตรีหลังคลอด หากกินแกงเลียงใบกุยช่ายจะช่วยเพิ่มน้ำนม กุยช่ายผัดตับ กุยช่ายยังให้กากอาหารช่วยสร้างสมดุลแก่ระบบย่อยอาหารทำให้ท้องไม่ผูก แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และแก้ท้องผูก โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือนำไปผัดรับประทาน เพราะกุยช่ายมีใยอาหารมาก จึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี แก้อาการฟกช้ำ โดยใช้ใบสดตำละเอียดแล้วพอกบริเวณที่มีอาการเพื่อบรรเทาความปวด แก้อาการห้อเลือดและปัสสาวะกะปริบกะปรอย โดยใช้เมล็ดแห้งต้มรับประทานหรือจะทำเป็นยาเม็ดรับประทานก็ได้ และหากถูกตีจนเกิดอาการฟกช้ำให้นำกุยช่ายสดมาตำให้แหลก แล้วพอกบริเวณที่เป็นจะสามารถแก้อาการฟกช้ำ ห้อเลือดและแก้ปวดได้ หรือถ้าเป็นแผลมีหนองเรื้อรังให้ใช้ใบสด ๆ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาพอกที่แผล หรืออาจผสมดินสอพองในอัตราส่วนใบกุยช่าย ๓ ส่วน ดินสอพอง ๑ ส่วน บดให้ละเอียดจนเหลวข้นแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ ๒ ครั้ง ในกรณีที่บวมฟกช้ำ เนื่องจากถูกกระแทก หรือขนมกุยช่าย

          นอกจากนี้ หมอยาพื้นบ้านในภาคอีสานยังใช้ ใบกุยช่ายตำกับข้าวสารดิบทาตามตัว แก้อาการลมพิษ หรือมีอาการคันตามผิวหนัง เนื่องจากเป็นประดง ให้นำข้าวสารประมาณ ๑ กำมือ ไปแช่น้ำให้อ่อน จากนั้นนำไปโขลกกับผักแป้น ๑ กำมือ ทาบริเวณที่คัน อย่างไรก็ตาม ในประเทศบังกลาเทศใช้เมล็ดรับประทานเพื่อเพิ่มจำนวนสเปิร์ม และผลจาการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในหนูพบว่ามีสารสำคัญจากเมล็ดที่ทำให้หนูได้รับการกระตุ้นให้มีการผสมพันธุ์มากขึ้นเมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับคนจีนมีการใช้เมล็ดเพิ่มพลังหยางให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ส่วนในประเทศเกาหลีมีงานวิจัยที่ทำการทดลองในหนูพบว่าสารสกัดจากใบกุยช่ายช่วยลดไขมันในตับได้ ส่วนในประเทศฟิลิปปินส์ จะใช้ทุกส่วนของกุยช่ายในการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงและน้ำคั้นจากใบใช้ผสมยาแทนเหล้า

          กุยช่าย นับเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งของคนและสัตว์ สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้ มีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรและมีสรรพคุณหลากหลายเพียงแต่ต้องรู้จักรับประทานและนำมาใช้ให้ถูกต้อง


7. ดอกชมจันทร์ 
          โดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก จากผลการวิเคราะห์พบสรรพคุณดอกชมจันทร์ ดังนี้ ดอกชมจันทร์เป็นผักที่ไขมันต่ำและมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ดอกชมจันทร์มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดอกชมจันทร์มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร ขณะที่เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ จึงช่วยให้หลับสบายขับถ่ายดีขึ้น และบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร ต้มดอกชมจันทร์ 30 กรัม กับถั่วแดง 30 กรัม เติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดื่มเพื่อขับปัสสาวะคลายร้อน และเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหินเรื้อรัง นึ่งหมูเนื้อแดงกับดอกชมจันทร์ รับประทานเพื่อเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด


8. ดอกขจร หรือดอกสลิด
          ประโยชน์ของขจรยอดอ่อน ผลอ่อน และดอก ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส่วนดอกยังสามารถปรุงอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงส้มดอกขจร แกงจืดดอกขจร แกงเลียง ขจรผัดไข่ ขจรชุบแป้งทอด ยำ ยำดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร ผัดน้ำมันหอย ผัดกับปลาหมึก เป็นต้น ยอดอ่อนคือส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด ในสมัยก่อนจะนำดอกขจรมานึ่งให้สุกผสมกับมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวแก่ขูดฝอย นำมาปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย งา และเกลือเล็กน้อย ใช้ทำเป็นขนมที่เรียกว่า “ขนมดอกขจร” แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบว่ามีขายแล้ว


9. ดอกแค
          ประโยชน์ของดอกแค ฝักอ่อน ยอดอ่อนและใบอ่อน สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เมนูดอกแค เช่น แกงแค, แกงส้มดอกแค, ดอกแคสอดไส้, ดอกแคห่อกุ้งทอด, แกงเหลืองปลากะพง, แกงจืดดอกแค, ดอกแคชุบแป้งทอด, ดอกแคผัดหมู, ดอกแคผัดกุ้ง, ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว, ดอกแคผัดกระเพรา, ยำดอกแค, ส่วนใบอ่อน ยอดอ่อน และฝักอ่อนนำมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้ เป็นตน สำหรับชาวอีสานนิยมนำดอกแคและยอดอ่อนมานึ่งหรือย่าง รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว และดอกยังนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอ่อมอีกด้วย บ้านเรานิยมกินดอกและยอดอ่อน แต่สำหรับประเทศอื่น ๆ บางประเทศจะนิยม กินดอกแคสดหรือนำมานึ่งเป็นสลัดผัก ส่วนฝักจะใช้รับประทานเหมือนกับถั่วฝักยาว

เมี่ยงดอกไม้
* * * * *
ขอขอบคุณ ภาพจากอินเตอร์เน็ต

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.