Header Ads

Breaking News
recent

การปลูกขมิ้นชัน และเรื่องที่น่ารู้

ภาพ : www.ku.ac.th

การปลูกขมิ้นชัน และเรื่องที่น่ารู้

          ขมิ้นชัน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Curcuma loga Linn. มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีส่วนของลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่าเหง้า ซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและสารให้สี ทำให้เหง้ามีสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นเหนือดินอยู่ 30-90 เซนติเมตร

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกขมิ้นชัน
- ชอบอากาศร้านชื้น
- ชอบอยู่กลางแจ้ง
- ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี
- ไม่ชอบดินหนียวและดินลูกรัง

การเตรียมดินปลูกขมิ้นชัน
- ไถพรวนหรือขุดดินให้ดินร่วนซุย ตากแดดไว้ 7 วันเพื่อฆ่าเชื่อโรคและวัชพืช
- ถ้าดินระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้องยกร่อง

การเตรียมเหง้าพันธุ์ขมิ้นชัน
- คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 8-9 เดือน ที่มีตาสมมูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำราย
- แบ่งหัวพันธุ์ โดยการหั่นขนาดของเหง้าควรมีตาอยู่อย่างน้อย 3-5 ตา หรือแง่งมีน้ำหนัก 15-50 กรัม
- แข่ท่อนพันธุ์ขมิ้นชันด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง 1-2 ชัวโมง ตามอัตราที่แต่ละยี่ห้อแนะนำ
- ชุบท่อนพันธุ์ขมิ้นชันด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราก่อนปลูก ตามอัตราที่แต่ละยี่ห้อแนะนำ

การปลูกขมิ้นชัน
- ควรปลูกในฤดูฝน ช่วงเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม เพราะฤดูอื่นขมิ้นชันจะพักตัว จึงทำให้ไม่งอก
- ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถว 30x30 เซนติเมตร
- ขุดหลุมขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 15x15x15 เซนติเมตร
- ใส่ปุ่ยคอกรองก้นหลุม ประมาณหลุมละ 200 กรัม ประมาณ 1 กระป๋องนม
- นำหัวพันธุ์ขมิ้นชันที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินหนาประมาณ 5 เซนติเมตร
- คลุกพื้นดินด้วยฟางข้าวหรือวัสดุที่น้ำซึมลงพื้นได้ เพื่อป้องกันการงอกของวัชพืช และรักษาความชื้นในดิน
- รดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษาขมิ้นชัน
- ช่วงอายุ 1.5-2 เดือน เมื่อกำลังเจริญเติบโต ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา ครึ่งช้อนแกง ต่อหนึ่งกอ
- ช่วงอายุ 3-4.5 เดือน จะเป็นช่วงสะสมอาหารของขมิ้นชัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อีกหนึ่งรอบในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อกอ

การป้องกันกำจัดโรคขมิ้นชัน
- อาจจะพบโรคเน่าเหง้ายุบในขมิ้นชัน ในระยะขมิ้นชันอยู่ในแปลงและทิ้งใบหมดแล้ว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Fusarium Solani สามารถป้องกันโดยหลีกเลี่ยงโดยไม่ปลูกขมิ้นชันซ้ำในพื้นที่เดิมโดยให้เว้นระยะ 2-3 ปี



การเก็บเกี่ยวขมิ้นชัน
- เก็บเกี่ยวขมิ้นชันเมื่ออายุได้ 8-9 เดือน
- ห้ามเก็บขมิ้นชันในระยะที่มีขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้มีสาร Curcumin ต่ำ
- วิธีการเก็บเกี่ยวขมิ้นชัน จะใช้จอบขุด ถ้าดินแข็งควรรดน้ำให้ชุ่มก่อน แล้วแล่อยให้ดินแห้งหมาด ๆ แล้วจึงขุด
- เคาะเอาดินออกจากหัว แล้วนำชมิ้นชันใส่ตะกร้านำไปแกว้งล้างน้ำอีกรอบ

ผลผลิตขมิ้นชัน
- ปลูกขมิ้นชัน 1 ไร่ จะได้ขมิ้นชัน (ผลสด) ประมาณ 3,000 กิโลกรัม

อัตราการทำขมิ้นชันแห้ง
- ผลผลิตสดของขมิ้นชัน (อายุ 12 เดือน) จะได้ผลผลิตแห้ง ในอัตราเท่ากับ 6:1 (หรือ ขมิ้นชันผลสด 6 กิโลกรัม เมื่อทำให้แห้งแล้วจะได้ขมิ้นชันแห้ง 1 กิโลกรัม) ปลูกขมิ้นชัน 1 ไร่ จะได้ขมิ้นชันแห้ง ประมาณ 500 กิโลกรัม

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของขมิ้นชัน
- เหง้า (สด,แห้ง)

การนำขมิ้นชันไปใช้ประโยชน์
- นำไปทำน้ำมันหอมระเหย เช่น Turmerone, Borneol, Zingiberene และ Curcumin

สรรคุณของขมิ้นชัน
- แก้ท้องอืด, ท้องเฟ้อ

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขมิ้นชัน
KHAOLAOR Turmeric Tablet ขมิ้นชัน(สกัด) ชนิดเม็ด (กรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องเฟ้อ)



OEM B-Herbs ข้าวกล้องเพาะงอกเคลือบสมุนไพรขมิ้นชัน



Scent & Sense สบู่สครับ ขมิ้นชัน



* * * * *
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
เรียบเรียงเพิ่มเติม : เกษตร นานา - Kaset NANA
Powered by Blogger.