Header Ads

Breaking News
recent

การปลูกพริกไทย และการดูแล


การปลูกพริกไทย และการดูแล


     พริกไทย เป็นพืชมีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงสำหรับอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากผงของเปลือกเป็นสีดำปนอยู่ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผง

วิธีการปลูก พริกไทย


การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ
1. นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9x14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง

2. ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง

ระยะปลูก
- พริกไทยพันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25 หรือ 2.25 x 2.5 เมตร

- พริกไทยพันธุ์ซาราวัค (มาเลเซีย) ใช้ระยะ 2x2 เมตร

การปักค้าง
     การปักค้างพริกไทย ควรใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ ขนาด 4x4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น หลังจากนั้น ขุดหลุมขนาด 40x50 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ผสมดินกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา (ดิน) 3 : 1 แล้วใส่ในหลุมประมาณครึ่งหลุม นำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลุกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้วัสดุพลางแสง ประมาณ 3-4 เดือน หรือจนกว่าพริกไทยจะตั้งตัวได้


การดูแลรักษา พริกไทย


การตัดแต่ง
     ปีที่ 1 เหลือยอดที่สมบูรณ์ไว้ ค้างละ 4-6 ยอด ใช้เถาวัลย์หรือเชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้างโดยผูกขอเว้นข้อ จนกระทั่งพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน

     ปีที่ 2 ตัดแต่งเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง และใช้เชือกไนล่อนผูกทับเถาวัลย์เดิมเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 40-50 เซนติเมตร

     ปีที่ 3 ตัดไหลและปรางบริเวณโคนต้น ปลิดใบที่ลำต้นออก เพื่อให้โคนโปร่ง ถ้าพริกไทยยังไม่ถึงยอดค้าง เด็ดช่อดอกออกให้หมด เพราะจะทำให้พริกไทยเจริญเติบโตช้า

การใส่ปุ๋ย
     ช่วงแรกใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 400-500 กรัม/ค้าง แบ่งใส่เดือนละ 1 กำมือต่อต้น ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรด ให้ผสม สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ ชนิดน้ำ สามารถปล่อยไปกับการให้น้ำ อัตรา 500 ซีซีต่อ 2 ไร่ ทุก ๆ 2-3 เดือน

     ช่วงที่ 2 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กรัม(3 กำมือ)/ค้าง ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

     ช่วงที่ 3 สูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัม/ค้าง+ ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 400 กรัม(2-3 กำมือ)ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม

การให้ปุ๋ยอาจให้ปุ๋ยตามเกณฑ์ดังนี้

     ปีที่ 1 สูตร 15-15-15 อัตรา 400-500 กรัม (3-5 กำมือ)/ค้าง หรือ สูตร 15-15-15 อัตรา 100 กรัม (1 กำมือ) + ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 400 กรัม (2-3 กำมือ)

     ปีที่ 2 สูตร 15-15-15 อัตรา 800-1,000 กรัม (4-5 กำมือ)/ค้าง แบ่งใส่ 3-4 ครั้ง หรือ สูตร 15-15-15 อัตรา 200 กรัม (1 กำมือ) + ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 800 กรัม(4-5 กำมือ)

     ปีที่ 3 และปีต่อ ๆ ไป ครั้งที่ 1 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 800 กรัม/ค้าง (4-5 กำมือ) ใส่หลังเก็บเกี่ยว


การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ 
     ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง (ฝาแดง) อัตรา 20-30 ซีซี + อาหารรองและเสริม “คีเลท” อัตรา 5 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 15 วัน จะทำให้พริกไทยมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า 200% และช่วยป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ดี ช่วยลดต้นทุนสารเคมีได้กว่า 50% ช่วงฤดูฝนแนะนำให้ผสม สารจับใบ (MAKUMI มาคูมิ) สูตรเข้มข้น อัตรา 3 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการชะล้างจากน้ำฝน ทำให้ใบพืชดูดซึมได้รวดเร็ว มากกว่าและนานกว่า

MAKUMI สารจับใบ มาคูมิ
     

***หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยเคมีเป็นประจำ บ่อย ๆ จะทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว และอายุการให้ผลผลิตของต้นพริกไทยสั้นลง ดังนั้น แนะนำ ให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง โดยผสมปุ๋ยอินทรีย์ กับปุ๋ยเคมี ในอัตรา 4 ส่วน : ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ในทุกครั้งของการใส่ที่แนะนำข้างต้น เพื่อลดต้นทุน โดยที่ผลผลิตได้มากกว่า เนื่องจาก ปุ๋ยอินทรีย์ จะปลดปล่อยปุ๋ยให้รากพืชได้อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า ช่วยในการปรับสภาพดิน และ และยังช่วยดูดซับลดการสูญเสียของปุ๋ยเคมีในแต่ละรอบของการใส่ ลดต้นทุนได้ประมาณ 20-50% ต่อรอบการผลิต

การให้น้ำ
     ควรให้แบบมินิสปริงเกอร์ mini sprinkler ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ 3-4 วัน/ครั้ง ตามสภาพดินฟ้าอากาศ

แมลงที่สำคัญ 

     มวนแก้ว ในพริกไทน วางไข่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง ป้องกันโดยการเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย และใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช ลาเซียน่า อัตราตามฉลากระบุ

     ด้วงงวง ในพริกไทย เจาะเถาพริกไทย ตัวอ่อนเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกันกินใบและผลพริกไทย ป้องกันโดยเผาทำลาย เถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวง ป้องกันโดยการใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ ถ้าเริ่มพบการระบาด ฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช ลาเซียน่า อัตราตามฉลากระบุ

     เพลี้ยอ่อน ในพริกไทย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ใบและยอดแคระแกรน บิดงอ ไม่ติดเมล็ด ป้องกันโดยเก็บทำลาย หรือฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช ลาเซียน่า อัตราตามฉลากระบุ

     เพลี้ยแป้ง ตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ใบ และเถาพริกไทย เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลเป็นน้ำหวาน จึงพบว่ามดเป็นตัวพาเพลี้ยแป้งไปปล่อยยังส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช ลาเซียน่า ร่วมกับ สารจับใบเข้มข้น (MAKUMI มาคูมิ) และป้องกันมดซึ่งเป็นพาหะด้วยการใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ

ลาเซียน่า ชีวภาพกำจัดเพลี้ย

โรคที่สำคัญ 

     โรครากเน่า ในพริกไทย เกิดจากเชื้อรา อาการระยะแรกเถาจะเหี่ยวในเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ต่อมาปราง (กิ่งแขนง) เริ่มหลุดเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่โคนต้นถึงยอดขั้วกิ่งเป็นสีเหลืองและดำ ส่วนรากเน่าดำและมีกลิ่นเหม็น ป้องกันโดยอย่าให้น้ำขังในฤดูฝน เผาทำลายต้นที่เป็นโรค และใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา “ไตรโคแม็ก” อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดหรือฉีดพ่นที่ผิวดินเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน

     โรครากขาว ในพริกไทยเกิดจากเชื้อรา ใบเหลืองและร่วง พบเส้นใยสีขาวปกคลุมที่รากบางส่วน ป้องกันโดยเผาทำลายส่วนที่เป็นโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โดยใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา “ไตรโคแม็ก” อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดหรือฉีดพ่นที่ผิวดินเป็นประจำถ้าระบาดรุนแรงใช้ควินโตซีน ผสมน้ำราดหรือฉีดพ่น

     โรครากปม ในพริกไทยเกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม เข้าทำลายที่รากฝอย เกิดเป็นปมเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ทำให้ผนังเซลล์เป็นแผล เป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าร่วมทำลายได้ง่าย ป้องกันโดยคลุมดินก้นหลุมก่อนปลูกด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดไส้เดือนฝอย ”พีแม็ก” อัตรา 50 กรัมต่อหลุม และใช้อัตรา 50 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ราดรอบทรงพุ่มในช่วงต้นและปลายฤดูฝนปีละ 1-2 ครั้ง

     โรคแอนแทรกโนส ในพริกไทยเกิดจากเชื้อรา ทำลายส่วนใบของพริกไทย เกิดเป็ดจุดวงกลมสีน้ำตาลดำหรือสีดำ ผิวเป็นเงามัน รอบจุดเป็นสีเหลือง ตรงกลางแผลมีลักษณะเป็นวงสีน้ำตาลดำเรียงซ้อนกันเหมือนวงปีของเนื้อไม้ ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ตายได้ ป้องกันโดยตัดแต่งกิ่งและเก็บไปเผาทำลาย และใช้ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา “ไตรโคแม็ก” ฉีดพ่นเป็นประจำในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่น้ำค้างแรง หรืออาจพ่นด้วยเบนโนมิล หรือแมนโคเซบ หรือคาร์เบนดาซิม อัตราตามฉลาก

     โรคราเห็ดพริกไทย ในพริกไทยเกิดจากเชื้อราเป็นเส้นใยสีขาวเจริญบนผิวเปลือกของลำต้น กิ่ง และใต้ใบ ทำให้ลำต้น กิ่งใบ แห้ง และตายได้ ป้องกันโดยอย่าให้น้ำท่วมขัง ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และพ่นด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP


การเก็บเกี่ยว

ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
- บริโภคสด หลังพริกไทยติดผล 3-4 เดือน

- ส่งโรงงานทำพริกไทยดอง หลังติดผล 4-5 เดือน

- ทำพริกไทยดำ เก็บเมื่อพริกไทยยังเขียวอยู่ หลังติดผล 6-8 เดือน

- ทำพริกไทยขาว เก็บเมื่อผลเริ่มสุกเป็นสีแดง หลังติดผล 6-8 เดือน

     ข้อสังเกตุ และเปรียบเทียบหลังจากใช้ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว ตามคำแนะนำ เป็นประจำ

1. ต้นพริกไทยสมบูรณ์ สามารถให้ผลผลิตมาก ดอกติดดก, ขั้วเหนียวและ ต้นจะมีอายุยืนกว่าสวนที่ไม่ได้ใช้

2. เมื่อใช้เป็นประจำ (3-4 ครั้งขึ้นไป) จะสังเกตได้ว่าแมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงด้วงกัดกินใบ ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)

3. ใบพืชจะเขียวเงาเป็นมัน อายุใบนานขึ้นทำให้ต้นไม่สูญเสียอาหารในการสร้างใบใหม่ (ไบโอเฟอร์ทิล เป็นสารธรรมชาติ ไม่กัดผิวใบทำให้ใบด้านเหมือนการใช้เคมีอย่างเดียว)

4. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง

5. เมื่อใช้ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว จะสามารถลดต้นทุน การใช้ปุ๋ยลงอีกประมาณ 20-50%

6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

-/-/-/-/-/-
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย พริกไทย"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

บทความดีดีจาก : myveget.com
โดย : Kaset NaNa เกษตรนานา

ลิ้งค์ที่น่าสนใจ


sarapantip สาระพันทิป


iLoveCoffeeTHAILAND ชมรมคนรักกาแฟแห่งประเทศไทย

dairyfeed อาหารโคนม


แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.