Header Ads

Breaking News
recent

สุดยอด ! สูตรน้ำหมักปลา (สูตรเร่งรัด) สุดยอดประโยชน์ ครบ 16 ธาตุ


ส่วนผสมน้ำหมักปลา

- เศษปลาหรือปลาทั้งตัว(ปลาทะเล) 3 กิโล
- กากน้ำตาล 1 ลิตร (หรือน้ำตาลทรายแดง 1-2 กิโล)
- รำละเอียด 1 กิโล
- สับปะรด 1 หัว (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทั้งเปลือก)
- น้ำมะพร้าว 2 ลูก (อ่อนหรือแก่ก็ได้)
- พด.2 หนึ่งซอง (หรือน้ำหมักจาวปลวกหนึ่งลิตร)
- น้ำเปล่า 10 ลิตร (ไม่มีคลอรีน)


การทำน้ำหมักปลา

          ผสมทุกอย่างให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิทตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม เปิดคนวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น พอครบ 7วัน เติมกากน้ำตาลอีก 1 ลิตร(หรือน้ำตาลทรายแดงอีก 1 กิโล) +น้ำเปล่าอีก 10ลิตรคนให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้อีก 7 วัน(ไม่ต้องคนแล้ว) ครบ 7วันกรองเอาแต่น้ำใส่ถังมิดชิดเก็บไว้ใช้ได้นาน


การนำน้ำหมักปลาไปใช้

- นำน้ำหมักปลาที่หมักเสร็จ 1 ลิตร ต่อน้ำ 50-100 ลิตร รด,ราด,ฉีดพ่น 7 วันครั้ง


ประโยชน์และคุณสมบัติของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพปลา

1. ธาตุอาหารพืช ( Plant Elements ) ครบทั้ง 16 ธาตุ
ธาตุอาหารหลัก (Macro Elements)
- ไนโตรเจน N
- ฟอสฟอรัส P
- โพแทสเซียม K
- แคลเซียม Ca
- แมกนีเซียม Mg
- กำมะถัน S
จุลธาตุ (Micro Elements)
- เหล็ก Fe
- แมงกานีส Mn
- ทองแดง Cu
- สังกะสี Zn
- โบรอน B
- โมลิบดินั่ม Mo
- คลอรีน Cl

วิธีสังเกตุว่าพืชขาดธาตุอาหารตัวใดใน 16 ธาตุ

2.กรดฮิวมิก ( Humic Acid )
          มีความสำคัญในการเร่งอัตราการเจริญ เติบโตของรากและลำต้นพืชได้ดี

3. กรดอินทรีย์ (Organic Acid)
- กรดอะซิติก (Acetic Acid)
- กรดแลคติก (Lactic Acid)

ประโยชน์
- เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์

- ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสียและจุลินทรีย์ที่ก่อโรคบางชนิด

- ยับยั้งการเกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เปลี่ยนรูปไนโตรเจนเป็นแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งสูญเสีย ไปได้ง่ายจากการระเหย

- ช่วยละลายสารประกอบอนินทรีย์ของแร่ธาตุบางชนิดให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้


4. กรดอะมิโน ( Amino Acid )
- กรดอะมิโน ให้ธาตุไนโตรเจน ( N ) เร่งการเจริญเติบโตของพืช

- น้ำหมักปลามีองค์ประกอบหลักคือกรดอะมิโน ซึ่งสามารถจับกับธาตุอาหารพืชและเปลี่ยนรูปเป็นอะมิโนคีแลต ซึ่งพืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยในรูปเกลือธรรมดา ส่งผลให้ช่อดอกของพืชมี ความยาวช่อเพิ่มขึ้น จำนวนดอกและการแตกยอดใหม่ของพืชเพิ่มขึ้น

- กรดอะมิโนช่วยผลิตฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซินได้

5. ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone)
- ออกซิน (Auxin) มีผลในการเพิ่มการขยายตัวของเซลล์ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เพิ่มการเกิดรากการเจริญของรากและลำต้น เพิ่มการออกดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผลดีขึ้น กระตุ้นการสุกของผล และ เพิ่มกิจกรรมเอนไซม์

- จิบเบอร์เรลลิน (Gibberellin) มีผลในการกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์พืชในทางยาว ทำให้ลำต้นยืดตัวมากขึ้น กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ดพืช เร่งการออกดอก ยืดช่อ ดอกเปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล พัฒนาการเกิดตาข้าง

- ไซโตไคนิน (Cytokinin) มีผลในการกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์การเจริญทางด้านลำต้นกระตุ้นการเจริญของตาข้างให้เจริญเป็นกิ่งแขนง เพิ่มอัตราการเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสงป้องกันคลอโรฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลง ทำให้ใบพืชเขียวนานและร่วงหล่นช้า


6. เอนไซม์ (Enzyme)
- เซลลูเลส (Cellulase)
- ฟอสฟาเทส (Phosphatase)
          ช่วยย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

7. สารเปิดปากใบ
          ทำให้การให้ปุ๋ยธาตุอาหารพืชทางใบได้ผลรวดเร็วยิ่งขึ้นเพราะพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารทางปากใบได้ทันที

8. จุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลาย
- กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเซลลูโลส หรือเศษพืช (Cellulolytic Microorganism) ประกอบไปด้วยแบคทีเรีย (Bacteria) รา(Fungi) และ แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะปล่อยเอนไซม์ (Enzymes) ออกมาย่อยสลายเศษพืชและซากสัตว์

- กลุ่มจุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้ทันที

- กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างฮอร์โมนซึ่งเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน (Auxin) จิบเบอร์เรลลิน (Gibberellin) และไซโตไคนิน (Cytokinin) สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

- กลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตสารปฎิชีวนะที่ป้องกันและทำลายโรคพืชเช่นเชื้อรา

- กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายสารพิษและสารปนเปื้อนในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว และปรอท เป็นต้น

- กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลุ่มหลักในกิจกรรมชีวเคมีของ

- วัฏจักรคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน

- วัฏจักรไนโตรเจน

- วัฏจักรฟอสฟอรัส

- วัฏจักรซัลเฟอร์

- การเปลี่ยนแปลงและการหมุนเวียนเหล็ก


9. การปรับปรุงโครงสร้างดิน
          กิจกรรมของจุลินทรีย์ช่วยในการปรับปรุงดินให้มีโครงสร้างดี มีลักษณะร่วนซุยและมีการระบายน้ำและอากาศดี ทำให้ดินมีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารพืชสูงขึ้นและช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน (ค่า PH) ให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

10. อื่นๆ
          น้ำหมักปลาประกอบด้วยโปรตีน (กรดอะมิโน) คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ ดังนั้นในการใส่น้ำหมักจากปลาลงดิน จะส่งเสริมให้จุลินทรีย์มีการเจริญเติบโตและเกิดกิจกรรมในดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายเศษพืชและซากสัตว์ได้เร็วขึ้น และยังทำให้มีการปลดปล่อยธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชมากยิ่งขึ้นด้วย

* * * * *
ทำเกษตรแล้วไม่มีที่ขาย ขายได้ที่
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย สินค้าเกษตร"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

แชร์...ตรงนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV

Powered by Blogger.