Header Ads

Breaking News
recent

การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ อย่างละเอียด


ก๊าซชีวภาพ คืออะไร
          ก๊าซชีวภาพ คือ ก๊าซที่เกิดจากมูลสัตว์ หรือสารอินทรีย์ต่างๆ ถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไม่มีอากาศ ทำให้เกิดก๊าซขึ้น ซึ่งก๊าซที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซที่ผสมกันระหว่างก๊าซชนิดต่างๆได้แก่ มีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้

ทำไมถึงต้องมีก๊าซชีวภาพ 
          บ่อก๊าซชีวภาพ สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากรักษาสภาพแวดล้อมแล้วยังได้ก๊าซชีวภาพมาเป็นแหล่งพลังงานในการหุงต้ม และให้แสงสว่างในครัวเรือนซึ่งจะช่วยให้ประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง บ่อก๊าซชีวภาพยังให้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินเพิ่มผลผลิตพืชได้อีกด้วย หรือนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพใช้ปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์กับพืชมากขึ้น ทำให้ลดการขาดดุลทางการค้าในการสั่งปุ๋ยจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง

อุปกรณ์
1. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 200 ลิตร 1 ใบ พร้อมฝาปิด
2. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 200 ลิตร 1 ใบ เปิด
3. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 180 ลิตร 1 ใบ
4. ท่อ PVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2  นิ้ว
5. ข้อต่อท่อ PVC  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2  นิ้วเกลียวนอกและเกลียวใน จำนวน 4 ตัว ข้อต่องอ 1 ตัว
6. ท่อ PVC 4 เกลียวนอกเกลียวใน วาวเปิด-ปิด
7. ท่อยางน้ำสายอ่อน
8. กาวซิลิโคน


วิธีทำถังหมักก๊าซ
1. เจาะถังด้านบนเพื่อใส่มูลโค ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว ยาวเกือบถึงก้นถัง ด้านบนที่เติมมีฝาปิด เพื่อใส่เศษอาหารแต่ละมื้อ กับช่องประคองแกนกวนปฏิกูล

2.  เจาะถังด้านข้างถัง ขนาด 2 นิ้ว เพื่อให้สิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายแล้วไหลออกและใช้ข้อต่องอสูงขึ้นบน

3. เจาะรูถังด้านบน ขนาด 4 หุน ใส่วาวปิดปิดด้านบนเพื่อนำแก๊สไปใช้หรือเก็บ

4. ถังสำหรับใส่สิ่งปฏิกูล เป็นถังหูหิ่ว

5. สายยางอ่อนเพื่อใช้ต่อสายไปใช้และเก็บ


วิธีทำถังเก็บก๊าซ
1. นำถัง 200 ลิตร เปิดฝาและใส่น้ำให้เต็ม

2. ใช้ถัง 180 ลิตร เปิดฝาและคว้ำลงในถังแรก

3. เจาะรูก้นถัง 180 ลิตร 1 รู เพื่อใช้แก๊สและเก็บ

วิธีหมักมูลสัตว์ที่ทำให้เกิดแก๊ส
1. ใช้มูลโคสด ผสมกับน้ำเปล่าอัตราส่วนผสมครั้งแรก น้ำเปล่า 35 ลิตร/มูลโคสด 35 ลิตร ผสมให้เข้ากัน  ใส่ครั้งต่อไปอาทิตย์ละ 1 ครั้ง อัตรา น้ำเปล่า 5 ลิตร/มูลโคสด 5 ลิตร ผสมกันให้เข้ากัน เปิดช่องทางระบายด้านข้างเพื่อให้ปฏิกูลส่วนเกินไหลออกมา ปริมาณ 1 กก.

2. เกิดการย่อยสลาย สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี


ผลที่ได้รับ 
1. เป็นการส่งเสริมแนวความคิดในการประยุกต์ใช้พลังงาน และการใช้สิ่งปฏิกูลให้เกิดประโยชน์

2. ประยุกต์ใช้ในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ในระยะเวลา 3 ปี จะประหยัดกว่าการซื้อแก๊สขนาดบรรจุ 15 กก. คิดเป็นเงิน 1,800 - 2,300 บาท)

* * * * *

ทำเกษตรแล้วไม่มีที่ขาย ขายได้ที่
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย สินค้าเกษตร"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.