Header Ads

Breaking News
recent

วิธีสังเกตุพืช ว่าขาดธาตอาหาร อะไรบ้าง


          ธาตุอาหาร/สารอาหาร สำหรับพืช  หมายถึง สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ

(1) ถ้าพืชขาดสารอาหารนี้แล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตามปกติ
(2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลาง ในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)


สารอาหารหลัก  
          คือสารอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือว่าเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณมาก (0.2% ถึง 4% โดยน้ำหนักแห้ง)

          พืชสามารถรับสารอาหารทางดินได้โดยการแลกเปลี่ยนประจุ โดยที่รากฝอย จะปล่อยประจุไฮโดรเจน (H+) ลงไปในดิน  และ ประจุไฮโดรเจนนี้จะไปแทนที่อออนประจุบวกที่อยู่ในดิน (ซึ่งเป็นประจุลบ) จึงทำให้สารอาหารที่อยู่ในรูปประจุบวกสามารถ ถูกรากดูดซึมเข้าไปได้

          เรื่องของสารอาหารพืชเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ส่วนหนึ่งเนื่องมากจาก ความหลากหลายของชนิดและพันธุ์พืช อีกส่วนหนึ่งเนื่องจาก ปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กล่าวคือ พืชต้องการสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอและไม่มากเกินไป ถ้าเมื่อพืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะเกิดอาการขาดสารอาหาร แต่ถ้าได้รับมากเกินไปสารอาหารนั้นก็จะเป็นพิษต่อพืชได้ นอกจากนั้นการขาดสารอาหารบางตัว อาจแสดงผลเหมือนกับการเป็นพิษของการได้รับสารอาหารอีกตัวมากเกินไป


          การที่พืชได้รับสารอาหารบางตัวมากไปก็ส่งผลทำให้พืชขาดธาตุอาหารตัวอื่นได้ และการได้รับธาตุอาหารบางตัวน้อยไป ก็อาจส่งผลต่อการดูดซึม ของสารอาหารตัวอื่นได้เช่นกรณีของการที่พืชขาด SO2-3 ทำให้การดูดซึม NO-3 ทำได้ไม่ดี หรือ การที่ NH+4 มีอิทธิพลกับการดูดซึมของ K+

          โดยสรุป   หน้าที่โดยทั่วไปของสารอาหาร คือการทำให้กิจกรรมต่างๆ ในเซลล์ หรือกระบวนการสร้าง/สลาย อาหารของพืช ดำเนินไปอย่างปรกติและต่อ นื่อง เพื่อให้พืชเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ และ คงรูปทรงอยู่ได้   กิจกรรมสำคัญที่จำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตของพืช ได้แก่ การใช้และเก็บสะสมพลังงาน รวมทั้งการสร้าง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ


ชื่อธาตุอาหาร

- P ฟอสฟอรัส ต้นแคระแกร็น ใบเล็ก เหลือง ลำต้นเล็กลง ใบล่างเริ่มมีสีม่วงตามแผ่นใบ ดอกผลน้อย รากไม่เจริญ

- N ไนโตรเจน ลำต้นและรากแคระแกร็น ใบเล็กเหลืองซีด ร่วงง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ถ้าขาดมากๆ จะเหลืองซีดไปทั้งต้นและอาจทำให้ตายได้

- K โปตัสเซียม ใบแก่มีอาการไหม้เริ่มจากที่ปลายใบ แผ่นใบจะโค้งลงหรือม้วนจากปลายใบ ใบอ่อนจะมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบ คุณภาพของดอกและผลลดลง

- Mg แมกนีเซียม ใบแก่มีลักษณะเหลืองซีด ระหว่างเส้นใบมีสีขาวหรือเหลือง ใบร่วงเร็ว การเจริญเติบโตช้าลง ปริมาณและคุณภาพของดอกผลต่ำ

- S กำมะถัน ใบยอดมีขนาดเล็ก สีเหลืองซีด เส้นใบยังคงมีสีเขียว

- Ca แคลเซียม ใบอ่อนบิดเบี้ยว ขอบใบม้วนลง ขอบใบไม่เรียบ ขาดและแห้ง ยอดอ่อนตาย

- Cl คลอรีน ใบเหี่ยวง่าย เหลืองด่าง พืชทั่วไปมีคลอรีนพอเพียงจึงไม่พบปัญหาของการขาดคลอรีน

- Mo โมลิบดินั่ม ขอบใบโค้งหงิกงอ มีจุดเหลืองด่างตามขอบใบ

- Zn สังกะสี ใบอ่อนมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวประปรายตามแผ่นใบ ทำให้ไม่ทนต่อสภาวะแดดร้อนจัดและหนาวจัด

- Cu ทองแดง ใบอ่อนจะมีสีเหลือง ตาจะกลายเป็นสีดำ ยอดจะชะงักการเจริญเติบโตและตาย

- B โบรอน ส่วนยอดมีสีเหลืองและแห้งตาย ลำต้นและใบบิดเบี้ยว ลำต้นไม่ค่อยยืดตัวและเปราะแตกง่าย

- Mn แมงกานีส ระหว่างเส้นใบจะขาดสีเขียวหรือเกิดจุดขาวเหลือง แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว ไม่ออกดอกผล

- Fe เหล็ก ยอดอ่อนมีสีเหลืองซีดจนกระทั่งเป็นสีขาวและแห้งตาย แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว


การแก้ไข
          ถ้าพืชขาดธาตุอาหารหลักพวก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปตัสเซียม นิยมใส่ปุ๋ยให้ทางดิน เพราะพืชต้องการมาก การให้ปุ๋ยทางใบโดยปกติจะช่วยเสริมให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีในช่วงแรกๆ ปุ๋ยที่ใช้ควรเลือกสูตรให้เหมาะสมตามลักษณะที่พืชขาด ตัวเลขสูตรปุ๋ย เช่น 30-20-10 หมายถึงปริมาณของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปตัสเซียม ในปุ๋ยนั้นตามลำดับ

          ถ้าพืชแสดงอาการขาด แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม ซึ่งโดยปกติจะพบในดินที่เป็นกรด แก้ไขได้โดยการใส่ปูน ถ้าขาดแคลเซียมอาจใช้ปูนมาร์ล ปูนขาวหรือหินปูนบด แต่ถ้าขาด แมกนีเซียม ด้วยควรใช้ปูนโดโลไมต์ เพราะมีทั้ง แคลเซียม และ แมกนีเซียม


          ถ้าพืชขาดจุลธาตุ ควรปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน pH ให้มีค่าประมาณ 5.5-7 เพราะดินในสภาพนี้จุลธาตุจะละลายออกมาให้พืชใช้ได้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่ถ้าดินมีธาตุเหล่านี้น้อยนิยมเพิ่มในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพราะปุ๋ยพวกนี้มีธาตุเหล่านี้อยู่ด้วย อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยให้ทางดินอาจจะช้าแก้ไขได้ไม่ทันการ ดังนั้นอาจมีการฉีดพ่นให้ทางใบด้วย ในปัจจุบันมีปุ๋ยที่มีพวกจุลธาตุผสมอยู่มาก เช่น ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ

          แต่ถ้าทราบว่าขาดจุลธาตุเพียง 1 หรือ 2 ตัว ก็อาจหาซื้อปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุนั้นๆ มาฉีดให้ทางใบก็ได้ เช่น เหล็กคีเลทให้ธาตุเหล็ก แมงกานีสซัลเฟตให้ แมงกานีสและกำมะถัน ซิงซัลเฟตให้สังกะสีและกำมะถัน คอปเปอร์ซัลเฟตให้ทองแดงและกำมะถัน โบแร็กซ์ให้โบรอน แอมโมเนียมโมลิบเดทให้โมลิบดินัมและไนโตรเจน และอื่นๆ อีกมาก

* * * * *

ทำเกษตรแล้วไม่มีที่ขาย ขายได้ที่
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย สินค้าเกษตร"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.