Header Ads

Breaking News
recent

การผลิตชาใบหม่อน (มัลเบอร์รี่)


การผลิตชาใบหม่อน (มัลเบอร์รี่)

          จากรายงานการศึกษาวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นพบว่าใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)มีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ช่วยลดคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงมีการผลิตชาจากใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากหม่อน(มัลเบอร์รี่)เป็นพืชปราศจากสารพิษ และเป็นที่รู้จักของชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลาช้านาน พบว่าหม่อน(มัลเบอร์รี่)มีแร่ธาตุ และวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างการโดยรวมสูงกว่าชา อาทิ แคลเซียม โปแตสเซียม โวเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินซี


รูปแบบการผลิตชาใบหม่อน (มัลเบอร์รี่)
          การผลิตชาใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)มี 2 ลักษณะ คือ การผลิตในรูปโรงงาน และผลิตแบบครัวเรือน จากการศึกษาวิจัยการผลิตชาใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)ในรูปแบบโรงงานและแบบครัวเรือน พบว่าปริมาณแร่ธาตุ วิตามิน และกรดอะมิโน ต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ดังนั้น การผลิตชาใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)แบบครัวเรือนจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้้ยงไหมสามารถทำชาหม่อน(มัลเบอร์รี่)แบบครัวเรือนไว้บริโภคเองได้ เกษตรกรที่มีแปลงหม่อน(มัลเบอร์รี่)เพื่อใช้เลี้ยงไหมอยู่แล้ว บุคคลทั่วไปที่ปลูกหม่อน(มัลเบอร์รี่)ไว้ตามสวนหลังบ้านหรือปลูกไว้เป็นประดับ สามารถทำชาหม่อน(มัลเบอร์รี่)ได้ด้วยตนเองด้วยการใช้อุปกรณ์ในครัวเรือนที่มีอยู่แล้วไม่ต้องซื้อหาเพิ่มเติมแต่ประการใด

          การทำชาใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)ในระดับครัวเรือน มีวิธีการและขบวนการผลิตแตกต่างกันไปอย่างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของชาที่ผู้บริโภคต้องการที่นิยมผลิต ได้แก่ ชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง


          โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่าชาหม่อน(มัลเบอร์รี่)ที่ได้จากการทำแบบครัวเรือนมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการทำชาหม่อน(มัลเบอร์รี่)แบบอุตสาหกรรม การทำชาหม่อน(มัลเบอร์รี่)แบบครัวเรือนอาจพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวได้ แต่การทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในปริมาณมาก ๆ ต้องคำนึงถึงคุณภาพ เนื่องจากจะมีความแตกต่างกันในการทำแต่ละครั้ง รวมทั้งการแปรรูปที่อาจจะเกิดขึ้นจากความชำนาญของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเรื่องความชื้น ถ้าคั่วชาไม่ได้ที่ ความชื้นในใบชาหม่อน(มัลเบอร์รี่)สูง มีเชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลาย จะทำให้ชาใบหม่อน(มัลเบอร์รี่)เสื่อมคุณภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นการผลิตในปริมาณมาก ควรผ่านกระบวนการทำชาของโรงงาน เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีคุณภาพเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน


* * * * *
กรมส่งเสริมการเกษตร

แชร์
Powered by Blogger.