Header Ads

Breaking News
recent

ปลูกพืชผสมผสานหลายอย่าง มีโอกาศฟลุกได้ราคาดี เช่นนี้


ปลูกพืชผสมผสานหลายอย่าง มีโอกาศฟลุกได้ราคาดี เช่นนี้

          นายตังเช็ง เจริญลาภทวี อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 117 หมู่ 6 ต.พิกุลทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ปลูกพืชผสมผสาน อยู่ในแปลงผักหลายชนิด เช่น มะพร้าวน้ำหอม พริกขี้นก มะละกอ ผักกวางตุ้ง และผักชี ซึ่งผักชีนั้นอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตในชุดที่ 2 ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่ราคาดีมาก เป็นที่ต้องการของท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการผักชีอยู่ในระดับต้นๆ เพราะได้มีนักวิจัยของญี่ปุ่นได้นำผักชีไทยไปวิจัยทดลองจนทราบว่ามีประโยชน์ทางโภชนาการต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ช่วยระบายท้อง ลดน้ำตาลในเลือด ทำให้ขณะนี้มีชาวญี่ปุ่นหันมาสนใจบริโภคผักชีไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร้านอาหารหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่นได้คิดเมนูอาหารที่มีผักชีเป็นส่วนประกอบแต่ละอย่าง ส่งผลให้ผักชีมีราคาแพงราคาพุ่งสูงขึ้น บวกกับการปลูกค่อนข้างที่จะดูแลยาก


          นายตังเช็ง เจริญลาภทวี ผู้ปลูกผักชี เปิดเผยว่า ที่สวนจะปลูกแบบผสมผสาน มีพืชอายุน้อยอย่าง เช่น ผักกวางตุ้งมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 30 วัน ผักชี มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณประมาณ 40-45 วัน เมื่อผักชีหมดรุ่นผลพลอยได้จากนั้นคือพริกขี้นกมีอายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน จากนั้นก็จะได้มะละกอมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วัน พืชผักเหล่านี้อาศัยการอยู่ร่วมกันได้ บางคนยังไม่เข้าใจก็จะปลูกเพียงอย่างเดียวซึ่งจะเสียเวลาการลงทุน หากทำสวนเกษตรพอเพียงที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่น ผักชี ปลูกร่วมมะละกอ พริกขี้นกจะอยู่กันดีมาก เพราะผักชีเป็นผักที่ลำต้นเตี้ย เมื่อหมดรุ่นผักอื่นที่ปลูกจะค่อยๆ เจริญเติบโตตามเวลา

          ตอนนี้ที่ตลาดกำลังต้องการผักชีมาก เพราะผักชีปลูกหน้าฝนจะดูแลรักษายาก เพราะจะพบฝน เกิดปัญหาลุกไหม้ เมื่อฝนตกแดดร้อนช่วงบ่าย ทำให้ดินร้อนขึ้น ซึ่งชาวเกษตรกรได้พยายามคิดหาหนทางที่จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหา จึงใช้วิธีการขุดคูคลองทำเป็นร่องสวนเพื่อรดน้ำช่วยผักชีให้คลายความร้อนโดยเร็ว ใบผักชีก็จะไม่เกิดใบไหม้ เป็นเคล็ดลับของเกษตรกร อย่างฝนตกทำไมจะต้องรดน้ำ เนื่องจากจะเกิดความร้อนทำให้ใบผักชีไหม้เกิดผลเสีย หากเกิดฝนตกช่วงบ่ายจึงจำเป็นต้องรดน้ำในร่องสวนเข้าช่วย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้มากที่สุด

          การปลูกผักชีมีขั้นตอนจะต้องเตรียมดิน ใช้มูลสัตว์ เช่น ขี้ไก่แกลบใส่ในพื้นดิน ใช้รถไถพรวนให้เข้ากัน โดยเฉพาะที่ร่องสวนที่ปลูกจะต้องจมน้ำเพื่อฆ่าความร้อนของขี้ไก่ เมื่อพื้นดินจมน้ำแล้วจึงใช้รถคราดดินให้ร่วนแล้วจึงหว่านเมล็ดผักชีลงแปลง จากนั้นนำฟางมาปูคลุมหน้าดินเพื่อลดความร้อน พร้อมกับขึ้นน้ำ โดยผักชีจะงอกขึ้นใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน พอถึงเวลา 20 วัน จึงจะใส่ปุ๋ยเล็กน้อยช่วยบำรุงต้นให้แข็งแรง โดยต้นผักชีจะมีข้อดีคือ จะไม่ค่อยมีแมลงรบกวนเพราะมีกลิ่นฉุน แต่จะมีโรคเน่า โรคใบรวกจากเหตุฝนตกและเกิดความร้อน การปลูกต้องใช้ความเข้าใจในการดูแล

          ทราบว่าราคากำลังแพง เหตุมาจากการดูแลรักษาค่อนข้างยากเป็นพืชล้มลุก ฝนตกแรงมีลมด้วย ความกระแทกและความรุนแรงจะเกิดอาการช้ำจะแก้ไขปัญหาไม่ทัน ต้องคอยดูแลและสังเกตอาการของต้นผักชี บางครั้งน้ำมากจำเป็นต้องสูบน้ำออกเพื่อแก้ปัญหาโรคเชื้อรา ก็จะไม่เกิดกับต้นผักชี


          ช่วงแรกที่เก็บขายขณะนี้ปลูกเต็มพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เก็บขายส่งแม่ค้าได้กิโลกรัมละ 170 บาท ประมาณ 2,000 กิโลกรัม ผักชีจะขึ้นไม่สม่ำเสมอ ส่วนชุดที่ 2 จะเก็บขายมีระยะห่างประมาณ 8-10วัน โดยผักชีหว่าน 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 3 ครั้ง ราคาผักชีจะขึ้นอยู่ตามกลไกของตลาด ถ้าผักชีมีผลผลิตเข้าตลาดน้อยก็จะมีราคาแพง ถ้าผลผลิตเข้าตลาดมากก็จะเหลือแค่กิโลกรัมละ 5 บาท อย่าง 8 ไร่ สามารถเก็บผักชีได้ประมาณ 8 ตัน คาดว่าราคายังอยู่ที่กิโลกรัมละ 170 บาท จะได้เงินประมาณ 7-8 แสนบาท แต่หากมีเกษตรกรปลูกกันมากจะทำให้ราคาผักชีถูกลงขาดทุนมาก เพราะต้องจ้างคนงานถอนผักชีกิโลกรัมละ 10 บาท มันไม่แน่นอนเพราะเป็นประเทศเสรีขึ้นอยู่ตามกลไกของตลาด อย่างพื้นที่ใกล้เคียงมีเกษตรกรปลูกผักชีกันน้อย เพราะผักชีไทยจะปลูกซ้ำในที่ดินเดิมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง จากนั้นจำเป็นต้องย้ายที่เพราะจะเกิดรากเน่า และต้องหมุนเวียนปลูกพืชผักชนิดอื่นแทน

          สวนเกษตรผสมผสานจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนปลูกสลับกันไปในเนื้อที่ประมาณ 129 ไร่ มีทั้งพืชผักล้มลุก ไม้ยืนต้นอย่างมะพร้าวน้ำหอมซึ่งปลูกไว้กว่า 900 ต้น อายุประมาณ 4-5 ปี จะเก็บผลผลิตได้ ขณะนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดราคาดี ทำให้เกษตรกรหลายคนหันมานิยมปลูกในสวนสลับกับพืชผักอีกหลายชนิดปลูกผสมผสานอยู่ร่วมกันสามารถสร้างเก็บเกี่ยวผลผลิตหมุนเวียนได้เงินใช้ตลอดปี

ปลูกแล้วไม่มีที่ขาย ซื้อ-ขาย "ผลผลิต" ได้ที่
VV คลิก VV

* * * * *
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news/237967

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.