Header Ads

Breaking News
recent

เทคนิคการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อผลิตไข่ และลูกไก่ ขาย


เทคนิคการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อผลิตไข่ และลูกไก่ ขาย


          ไก่พันธุ์พื้นเมืองเป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย มีความทนทานต่อโรคและเจริญเติบโตได้ดีทุกสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย ต้นทุนต่ำ ราคาจำหน่ายสูงและตลาดมีความต้องการสูง แต่พฤติกรรมของไก่พันธุ์พื้นเมืองโดยธรรมชาติทั่วไปแม่ไก่จะออกไข่ครั้งละ 10-15 ฟอง เมื่อออกไข่แล้วจะกกไข่ฟักและเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง และจะผสมพันธุ์อีกครั้งเมืองลูกไก่เจริญเติบโตและหาอาหารได้เองตามธรรมชาติ ส่งผลให้แม่ไก่จะออกไข่ได้น้อยและเกษตรกรต้องหาแนวทางในการผลิตลูกไก่เพิ่มมากขึ้นด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบดั้งเดิม


          ปัจจุบันไก่พื้นเมืองยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากมีเนื้อเหนียว นุ่ม แน่น อร่อย มีรสชาติดี เมื่อเปรียบเทียบกับไก่เนื้อโดยทั่วไป แต่ทว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะเลี้ยงในระดับครัวเรือนรายละไม่เกิน 20-30 ตัว อีกทั้งเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ เมื่อออกไข่แล้วจะกกไข่ฟักและเลี้ยงลูกด้วยตัวเองและจะผสมพันธุ์อีกครั้งเมื่อลูกไก่เจริญเติบโตและหาอาหารเองได้ ทำให้แม่ไก่จะออกไข่ได้น้อยเพียงไม่กี่ครั้ง/ปีเท่านั้น ส่งผลให้มีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ไก่พื้นเมืองจึงมีราคาสูงกว่าไก่เนื้อโดยทั่วไปถึง 2 เท่า คุณสุเทพ ศิริมูล เกษตรกรต้นแบบการเลี้ยงสัตว์ปีก เจ้าของ "เทพศิริฟาร์ม" ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ให้คำแนะนำเทคนิควิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้สามารถผลิตไข่ได้ตลอดทั้งปี เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคไก่พื้นเมืองในปัจจุบัน ซึ่งการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อผลิตไข่และลูกไก่จะกระทำในรูปแบบของฟาร์มและโรงเรือน มีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปจากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบปล่อยธรรมชาติ ดังนี้


          ลักษณะโรงเรือนสำหรับคอกเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง : โรงเรือนโปร่งสูง มีหลังคากันแดด กันฝน และกันลม 

          พื้นคอก : ถมดินอัดแน่นให้สูงกว่าระดับพื้นดินเดิม หรือยกพื้นคอนกรีต ประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ปูพื้นด้วยแกลบดิบ หนาประมาณ 5 เซนติเมตร และเปลี่ยนแกลบใหม่ทุกๆ 1 เดือน เพื่อลดอัตราการสะสมของเชื้อโรค การให้น้ำ : ให้น้ำสะอาดในรางน้ำวางไว้ตามจุดต่างๆ และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆวัน 

          การให้อาหาร : ให้อาหาร 2 มื้อเช้าและเย็น คลุกเคล้ากับเปลือกหอยป่นเพื่อเสริมแคลเซียมให้กับแม่ไก่ เสริมด้วยหญ้าสดให้แม่ไก่กินทุกวัน จะช่วยให้เปลือกไข่แข็งแรงไม่แตกง่าย 

          การผสมพันธุ์ : โดยปล่อยให้ไก่ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ อัตราส่วนพ่อพันธุ์ไก่ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ไก่ 5-6 ตัว ตามความเหมาะสม การเลี้ยงในคอกตลอดเวลาแล้วพ่อแม่พันธุ์ไก่จะกินอาหารและน้ำได้มากขึ้น การปล่อยไก่ลงเลี้ยงแบบไม่แออัดจะช่วยให้ไก่ไม่เครียด ผสมพันธุ์ได้ไวและออกไข่ได้เร็วขึ้นการออกไข่ : แม่ไก่สาวจะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ 8 เดือน ออกไข่ชุดละประมาณ 10-15 ฟอง เมื่อแม่ไก่ออกไข่จนหมดแล้วให้รีบเก็บไข่ออกมาจากรังในช่วงเช้าเพื่อนำไปฟักด้วยเครื่องฟักไข่แทนการให้แม่ไก่ฟักเอง ไข่ไก่ที่ออกมาใหม่ๆจะมีสีขาวนวลอ่อน เปลือกจะบาง ก่อนนำไปฟักด้วยตู้ฟักไข่ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดเปลือกไข่เพื่อทำความสะอาดก่อน จากนั้นนำเข้าตู้ฟัก ซึ่งวิธีการแบบนี้จะช่วยให้แม่ไก่ได้ผสมพันธุ์ใหม่โดยไม่ต้องมาเสียเวลากับการฟักไข่ด้วยตัวเองอีกต่อไป 

          การฟักไข่ด้วยตู้ฟัก : โดยธรรมชาติทั่วไปแล้วไข่ทุกฟองอาจจะไม่สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ทั้งหมด ภายหลังจากเข้าตู้ฟักแล้ว 4-5 วัน เกษตรกรสามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของเชื้อไข่ที่พร้อมฟักได้ด้วยตาเปล่าโดยเอาไข่ไปส่องด้วยไฟฉายในที่มืดให้ไฟฉายแนบสนิทกับเปลือกไข่ ถ้าไข่มีเชื้อจะสังเกตเห็นจุดสีแดงและเส้นใยกระจายอยู่ภายในเนื้อไข่ ซึ่งสามาถนำไปเข้าตู้ฟักออกมาเป็นตัวได้ ใช้ระยะเวลาในการฟักทั้งหมดประมาณ 21 วัน เมื่อไข่ไก่ฟักออกมาเป็นตัวแล้วให้ย้ายลูกไก่ไปเลี้ยงในคอกอนุบาลต่อไป ส่วนไข่ที่ไม่มีเชื้อก็คัดออกแล้วนำไปบริโภคต่อไป 


          แม่ไก่จะเริ่มออกไข่ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่จะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้นในช่วงอายุ 8 เดือนขึ้นไป เฉลี่ย 10-15 ฟอง/ชุด เมื่อแม่ไก่ออกไข่จนหมดชุดแล้วก็จะเริ่มผสมพันธุ์และทยอยออกไข่ชุดใหม่ต่อไปเรื่อยๆ


          วิธีการสังเกตไข่ไก่มีเชื้อพร้อมที่จะฟักออกมาเป็นตัว โดยเอาไข่ไปส่องด้วยไฟฉายในที่มืดให้ไฟฉายแนบสนิทกับเปลือกไข่ ถ้าไข่มีเชื้อจะสังเกตเห็นจุดสีแดงและเส้นใยกระจายอยู่ภายในเนื้อไข่ ซึ่งสามาถนำไปเข้าตู้ฟักออกมาเป็นตัวได้ต่อไป


ซื้อ-ขาย "ไก่ พันธุ์ไก่" ได้ที่
VV คลิก VV

* * * * *
โดย : คุณสุเทพ ศิริมูล

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น

VVVVVVVVV
Powered by Blogger.