Header Ads

Breaking News
recent

ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์

ภาพ : ศิวกรพันธุ์ไม้

ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เศรษฐกิจ และ พืชอเนกประสงค์


ไผ่ข้าวหลาม Cephalostachyum pergracile มีชื่อเรียกตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ภาคเหนือ ไม้ป้าง - ขุยป้าง, กระเหลี่ยง ว่าบลอ, กระเหรี่ยงกาญจนบุรี แม่พล้อง เป็นไผ่พื้นเมืองของไทย ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบไผ่ข้าวหลามขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เป็นจำนวนมากตาม ป่าผสมผลัดใบ และป่าเบ็ญจพรรณ ต่าง ๆ

ลักษณะเด่น ของ ไผ่ข้าวหลาม Cephalostachyum pergracile

ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำปล้องมีความยาวประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำประมาณ 5-9 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใต้ข้อมีขนสีขาว ข้อไม่พองหรือปูดออกมา เป็นไผ่ที่มีเนื้อบาง ความหนาไม่ถึง 5 มิลลิเมรตร กาบหุ้มลำปลุดร่วงง่าย กาบด้านนอกสีดำหรือสีน้ำตาลปนเหลืองเห็นได้ชัดเจน

การใช้ประโยชน์ จาก ไผ่ข้าวหลาม Cephalostachyum pergracile

ไผ่ข้าวหลาม ลำต้นใช้ทำเครื่องจักสานต่าง ๆ สานเป็นฝาบ้าน ทำให้กลอนในการมุงหลังคาบ้านด้วยแฝกหรือหญ้าคา และใช้เป็นวัสดุตะแกรงแทนเหล็กเส้นในการเทพื้นคอนกรีต ไผ่ข้าวหลาม เมื่อลำไผ่อาจะได้ประมาณ 6-10 เดือน นิยมใช้ทำเป็นบ่องข้าวหลามได้เป็นอย่างดี เพราะเผาง่าย ปอกง่าย เพราะความหนาของเปลือกน้อย และมีเยื่อบาง ๆ หลุดติดออกมาหุ้มข้าวที่ใส่ไว้จึงนิยมเรียกว่า "ไผ่ข้าวหลาม" ไม่นิยมกินหน่อเพราะรสชาติขมมาก

* * * * *

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา - Kaset NaNa

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.