Header Ads

Breaking News
recent

ปาล์มน้ำมัน (Oil palm) "พืชอุตสาหกรรม"


ปาล์มน้ำมัน (Oil palm) "พืชอุตสาหกรรม"

     ปาล์มน้ำมัน ชื่อสามัญ Oil palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis guineensis Jacq. ถิ่นกำเนิด แถบแอฟริกาตะวันตก ความสำคัญ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่นทั้งด้านการผลิตและการตลาด ส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันปาล์มต่อน้ำมันพืชของโลก มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว จากร้อยละ 11.7ในช่วงปี 2519-2543 เพิ่มเป็นร้อยละ 27.5ในช่วงปี 2544-2548 และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 31.2 ในช่วงปี 2549-2563 โดยมีประเทศผู้ผลิตสำคัญ คือ มาเลเซียและอินโดนีเซีย

     สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทย มีอัตราการขยายตัว ค่อนข้างสูงเช่นกัน โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นจาก 69,625 ไร่ ในปี 2520 เป็น 2.04 ล้านไร่ในปี 2546 และน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีส่วนแบ่งการผลิตสูงสุดของ อุตสาหกรรมน้ำมันพืชของไทย คือ มีส่วนแบ่งการผลิตถึงร้อยละ 73 และมีส่วนแบ่งการ บริโภคน้ำมันพืชร้อยละ 62 ของน้ำมันพืชทุกชนิด และมีมูลค่าของอุตสาหกรรมสูงถึง 45,000 ล้านบาท ในปี 2546

     ในปี 2547 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์มให้เพียงพอ จะก่อให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งในส่วนของการนำมาบริโภค และนำมาทำเป็นพลังงาน ทั้งนี้มีเป้าหมายขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2572 เพื่อให้ได้ผลปาล์ม 25 ล้านตัน หรือให้ได้น้ำมันปาล์มดิบ 4.50 ล้านตัน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น มีลำต้นตั้งตรง มียอดเดี่ยวรูปกรวย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 ซม. สูง 2.5-4 เมตร ใบเป็นใบประกอบ รูปขนนก ซึ่งเรียกว่าทางใบ ทางใบ แบ่ง 2 ส่วน ส่วนแกนกลาง มีใบย่อยอยู่ 2 ข้าง และส่วนก้านทางใบซึ่งสั้นกว่าส่วนแรกและมี

ชีววิทยา ของต้นปาล์มน้ำมัน
- หนามสั้นอยู่ 2 ข้าง แต่ละทางใบ มีใบย่อย 100-160 คู่

- ดอก มีดอกเพศผู้ และเพศเมียอยู่ภายในต้นเดียวกัน ทางใบของแต่ละทางจะมีตาดอก 1 ตา ที่พัฒนาเป็นช่อดอก

- ผล เป็นผลชนิด nut ไม่มีก้านผลมีรูปร่างหลายแบบ ตั้งแต่รูปเรียวแหลม จนถึงรูปไข่หรือรูปยาวรีความยาวผล 2-5 ซม. มีน้ำหนักตั้งแต่ 3-30 กรัม ผลอ่อนมีสีดำ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดงเมื่อสุกแล้ว

- เมล็ด มีลักษณะแข็ง ประกอบด้วยส่วนของกะลาและเนื้อใน

สภาพแวดล้อม ที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
     ปาล์มต้องการสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำ ธาตุอาหาร และแสงแดด ดินต้องมีการระบายน้ำดี ถึงปานกลาง น้ำไม่ท่วมขัง ดินร่วน หรือร่วนปนดินเหนียว อุณหภูมิที่เหมาะสม 20-30 องศาเซลเซียส ต้องการฝนมากกว่า 2,000 มม./ปี และควรมีแหล่งน้ำให้ในช่วงแล้ง

พันธุ์ ปาล์มน้ำมัน
     กรมวิชาการเกษตรได้เริ่มดำเนินงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา (ปัจจุบัน มีการพัฒนาสายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็วควรศึกษาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันใน ปัจจุบันอีกที) จากผลการดำเนินงานวิจัยได้พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี เบอร์ 1-6 ที่มีคุณสมบัติดี ให้ผลผลิตสูง เป็นพันธุ์แนะนำแก่เกษตรกร โดยพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมแต่ละเบอร์ มีลักษณะดีเด่น ดังนี้

- ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 ลักษณะดีเด่น ให้ผลผลิตสูง เมื่ออายุ 6 ปี ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,450 กิโลกรัม/ไร่/ปี 50 เปอร์เซ็นต์ของต้นมีผลสุกสีส้มสังเกตได้ง่ายเมื่อเก็บเกี่ยว

- ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,617กิโลกรัม/ไร่/ปี ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ก้านทะลายยาวเก็บเกี่ยวได้ง่าย

- ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,939 กิโลกรัม/ไร่/ปี ให้น้ำมัน/ทะลายสูง

- ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี4ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,349 กิโลกรัม/ไร่/ปี ให้ผลผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอ

 -ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 5 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย3,054 กิโลกรัม/ไร่/ปี 50 เปอร์เซ็นต์ของต้นมีผลสุกสีส้มสังเกตได้ง่ายเมื่อเก็บเกี่ยว

- ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 6 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,258 กิโลกรัม/ไร่/ปีให้น้ำมัน/ทะลายสูง

พื้นที่แนะนำ ปลูกปาล์มน้ำมัน
     ทุกพันธุ์ควรปลูกในพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์ม และมีการจัดการตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ถ้าปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง (L2) ควรเพิ่มการบำรุงตามความเหมาะสม

เทคโนโลยีการผลิต
     ได้ศึกษาความต้องการน้ำของปาล์ม เมื่อปาล์มน้ำมันช่วงอายุ 4-9 ปี พบว่าการให้น้ำทำให้การเจริญเติบโตดี มีช่อดอกเพศเมียเพิ่มมากขึ้น ช่อดอกเพศผู้ลดลง ทำให้ผลผลิตทะลายเพิ่มขึ้น ซึ่งการให้ทั้งปุ๋ยและน้ำให้ผลผลิตทะลายเฉลี่ย 3,107กก./ไร่/ปี โดยวิธีการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ 54 ลิตร/ต้น/ชม. และใส่ปุ๋ยอัตราสูงจะให้ผลผลิตทะลายเฉลี่ยสูงสุด 3,235 ก.ก./ไร่/ปี การใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน 75, 150, 215 ก.ก./ต้น/ปี ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราปกติ จะให้ผลผลิตสูง 3,160 ก.ก./ไร่/ปี

     มาตรฐานการสุกแก่และระยะเวลาการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันและผลปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอร่า พบว่าระยะเวลาการพัฒนาของผลนับจากระยะเริ่มดอกบาน จนถึงระยะที่สะสมน้ำมันสูงสุด ซึ่งถือว่าเหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวเท่ากับ 162 วัน ซึ่งดัชนีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือการสังเกตเห็นผลร่วงออกจากจากทะลายผลแรก ช่วงเวลาดังกล่าวจะมีปริมาณน้ำมันที่สะสมในผลปาล์มสูงสุด

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
     การใช้ประโยชน์ น้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น

     1 . อุตสาหกรรมอาหาร เช่น เนยขาว ทำให้เนื้อแป้งฟูนุ่ม มาการีน ทำให้เกิดกลิ่นน้อยมาก และมีสารกันหืน ธรรมชาติ คือวิตามินอีสูง และสามารถช่วยยืดอายุของอาหารทอด เป็นส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูป ครีมเทียม ที่ใช้อยู่มี 3 รูป คือ ผงของเหลว และของแช่แข็ง ละลายได้รวดเร็วในน้ำร้อน วานาสปาติ เป็นไขมันเนยสำหรับการปรุงอาหาร วิตามินอี มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ใช้เลี้ยงสัตว์ และเป็นส่วนประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น ครีม ช็อกโกแลต ขนมปัง ไอศกรีม ฯลฯ

     2. อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้ในอาหาร เช่น ใช้แทนน้ำมันดีเซล ใช้เป็นโคลนสำหรับเครื่องขุดเจาะ ใช้ทำสบู่ และใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น

* * * * *
Sponsor Link
 หางาน นิคมอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี

Powered by Blogger.