Header Ads

Breaking News
recent

แมคคาเดเมีย (Macadamia) "พืชอุตสาหกรรม"


แมคคาเดเมีย (Macadamia) "พืชอุตสาหกรรม"

     แมคคาเดเมีย (Macadamia) ชื่อสามัญ Macadamia nut ชื่อวิทยาศาสตร์ Macadamia integrifolia Maiden & Betche. Macadamia tetraphylla L., M. integrifolia x tetraphylla hybrids ถิ่นกำเนิด บริเวณป่าฝนชายฝั่งทะเลของรัฐควีนแลนด์ และนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

ความสำคัญ
     แมคคาดาเมีย (Macadamia spp.) เป็นพืชเคี้ยวมัน (nut) ตระกูล Proteaceae ที่กำลังได้รับความสนใจเริ่มทดลองปลูกในไทยปีพ.ศ.2496 โดยองค์การยูซอม (USOM) จากประเทศอเมริกา แต่ไม่ได้รับความสนใจ จนในปี พ.ศ.2526-2527 ได้มีการทดลองอย่างจริงจัง โดยกรมวิชาการเกษตร นำพันธุ์จากประเทศออสเตรเลีย จำนวน 10 พันธุ์ คือ พันธุ์เชียงใหม่ 1 (no.741), พันธุ์เชียงใหม่ 2 (no.660), พันธุ์เชียงใหม่ 3 (no.508) และพันธุ์เชียงใหม่ 4 (no.344) และได้ปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับแนะนำส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ต่างๆอย่างกว้างขวาง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ทรงพุ่มแผ่กว้าง สูงประมาณ 18 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ ก้านใบสั้น ใบเรียงตัวแบบฉัตร แต่ละข้อมี 3-4

     ใบ ใบรูปไข่ ยาว 10-20 เซนติเมตร แผ่นใบแคบ

     ดอก ดอกเป็นช่อ แบบ raceme ยาว 10-30 เซนติเมตร มีดอกย่อย 100-300 ดอก ดอกสีขาวครีม

    ผล แบบ nut รูปร่างกลม ปลายผลมนถึงแหลม มีเปลือกหุ้มผลหนา สีเขียวถึงเขียวเข้ม เมื่อแก่เต็มที่เปลือกหุ้มผลจะแตกออกเอง และแตกตามรอยตะเข็บด้านเดียว

     เมล็ด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร รูปร่างค่อนข้างกลมประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดหรือกะลาหนา และแข็ง มีเนื้อในสีขาวหรือสีขาวครีม รูปทรงแบนถึงกลม ฐานทรงกลม

สภาพแวดล้อมในการปลูก
     แมคคาเดเมีย ต้องการอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน ไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตร ต่อปี และมีการกระจายดีต้องการความชื้นสัมพัทธ์สูงในช่วงออกดอกและติดผล ดินมีการระบายน้ำดี ค่าความเป็น กรด-ด่าง 5.5-6.0

สายพันธุ์แมคคาเดเมีย
     พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าและอุตสาหกรรมในปัจจุบัน มีดังนี้

พันธุ์จากฮาวาย มีอยู่ 7 พันธุ์ คือ
     1. พันธุ์ Keauhou (no.246) ให้ผลผลิตต่อต้น 21 ก.ก. เมื่ออายุประมาณ 10 ปี (141 ผล/ก.ก.)ใบสีเขียว ปานกลาง ทีคุณสมบัติค่อนข้างดี แต่ลูกที่เพาะจากพันธุ์นี้ ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติดีกว่า พ่อ-แม่ เช่น ทอ.790, 800, 835 เป็นต้น

     2. พันธุ์ Tkaika (no.333) เติบโตดี และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดีมาก ใบกว้างใหญ่ มีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีหนามแหลม ติดลูกเป็นพวงดก ผลเล็ก (174 ผล/ก.ก.)แต่คุณภาพไม่ค่อยแน่นอน ให้ผลผลิต/ต้น เพียง 10 ก.ก. เมื่ออายุ 10 ปี เป็นพันธุ์ที่ทางการไม่แนะนำให้ปลูก

     3. พันธุ์ Kau (no.344) พันธุ์นี้รูปทรงลำต้นสวยแบบสนฉัตร ทนลมทนแล้ง ใบเขียวเข้ม ขนาดผลค่อนข้างใหญ่ เกือบเท่า ทอ.246 ผลผลิต/ต้น ดีกว่า ทอ.246, 333 และ508 แต่เป็นรอง 660 เป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมาก

     4. พันธุ์ Kakea (no.508) ให้ผลผลิต/ต้น 18 ก.ก. เมื่ออายุ 10 ปี (146 ผล/ก.ก.) เมื่อกะเทาะแล้วเนื้อในมีคุณภาพดีเยี่ยม ข้อเสีย คือทนแล้งได้ แต่ไม่ทนร้อน และเมื่อแก่ผลจะค้างอยู่ในเปลือกหรือฝัก ต้องปลูกเหนือระดับนํ้าทะเล 800 เมตร ไม่ควรปลูกในที่ๆมีปริมาณน้ำฝนมาก

     5. พันธุ์ Keaau (no.660) เป็นพันธุ์เบา ออกดอกดก ทำหน้าที่เป็นตัวให้เกสร ปลูกแทรกกับพันธุ์อื่น ในอัตรา 3:1 ใบเขียวเข้ม มีหนามมากกว่า ทอ.344 ปรับตัวได้ดี ขนาดผลเล็ก (179 ผล/ก.ก.) อายุ 10 ปี ให้ผลผลิต 11 ก.ก./ต้น เมื่ออายุมากขึ้นผลผลิตจะลดลง

     6. พันธุ์ Mauka (no.741) ใบมีหนาม ทรงพุ่มคล้าย 660 ขนาดผลใหญ่เกือบเท่า 344 (157 ผล/ก.ก.) ยอดอ่อนสีน้ำตาลอมแดงเรื่อๆ ให้ผลผลิต 16.6 ก.ก./ต้น เมื่อต้นอายุเพียง 7 ปี

     7. พันธุ์ Makai (no.800) ทรงพุ่มกลม ใบเรียวตั้งแต่ก้านใบถึงปลายใบ มีหนามแหลมคม ขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่นที่กล่าวมา เนื้อในคุณภาพดีเยี่ยม จึงเป็นพันธุ์มาตรฐาน สำหรับใช้คัดเลือกพันธุ์ใหม่ๆ ต่อไป เมื่อปลูกได้อายุ 14 ปี ให้ผลผลิต 22.5 ก.ก./ต้น

พันธุ์จากออสเตรเลีย มี 2 พันธุ์ คือ
     1. พันธุ์ Hinde (H2) ต้นใหญ่ สามารถเติบโตได้ดีในประเทศไทย ผลค่อนข้างใหญ่มีรอยบุ๋มที่ขั้วของผลใบใหญ่ ปลายใบกลมมน ไร้หนาม เมื่ออายุ 10 ปี ให้ผลผลิต 18 ก.ก./ต้น (142 ผล/ก.ก.)

     2. พันธุ์ Own Choice (OC) มีพุ่มขนาดกลางแตกกิ่งแขนงมากให้ผลผลิตค่อนข้างสูง คือ26ก.ก./ต้น(129 ผล/ก.ก.)(อายุ10ปี)ขนาดผลใหญ่กว่า H2 เนื้อในใหญ่ สีและคุณภาพดีมาก

พันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร มี 3 พันธุ์ คือ
     1. พันธุ์เชียงใหม่ 400 (พันธุ์ 344) ทรงต้นตั้งตรง ทรงพุ่มแน่น คล้ายปิรามิดขนาดผลปานกลาง กะลาหนาเล็กน้อย ผิวเรียบ สีผิวเมล็ดน้ำตาลอ่อน มีจุดลาย เนื้อในใหญ่ ปรับตัวได้ดีทุกสภาวะอากาศ ควรปลูกในเขตพื้นที่สูงระดับ 700 เมตรขึ้นไป และควรปลูกร่วมกับพันธุ์ 660 และ 741

     2. พันธุ์เชียงใหม่ 700 (พันธุ์ 741) ทรงต้นตั้งตรง ทรงพุ่มแน่น คล้ายปิรามิดขนาดผลปานกลาง กะลาบาง ผิวเรียบ สีผิวเมล็ดน้ำตาลอ่อน มีจุดลาย เนื้อในใหญ่น้ำหนักเนื้อในสูง 2.0-2.9 กรัมและสม่ำเสมอ ปรับตัวได้กว้างตั้งแต่ระดับ 300-1,300 เมตร แต่ถ้าปลูกในพื้นที่ต่ำกว่า 700 เมตร คุณภาพเนื้อในอาจลดลง

     3. พันธุ์เชียงใหม่ 1000 (พันธุ์ 508) ทรงต้นตั้งตรง พุ่มค่อนข้างแน่น ทรงกลม ขนาดผลเล็ก ถึงปานกลาง กะลาหนาเล็กน้อย ผิวเรียบ สีผิวเมล็ดสีน้ำตาลมีจุดลายเนื้อในเล็ก

เทคโนโลยีการผลิต แมคคาเดเมีย
     ได้ดำเนินการเปรียบเทียบพันธุ์ที่เหมาะสมเป็นพันธุ์การค้าตามแหล่งต่างๆ มี 4 พันธุ์ ที่สามารถเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพเนื้อในอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล ได้แก่ พันธุ์เชียงใหม่ 400-344 เหมาะสมในพื้นที่สูง 300-700 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์เชียงใหม่ 700-741 เหมาะกับพื้นที่ตั้งแต่ 300-1,300 เมตร ส่วนพันธุ์ 660 เหมาะสำหรับปลูกเป็นตัวช่วยในการให้ละออกเกสรเพื่อการผลิตผล ด้านการป้องกันปัญหาการโค่นล้มเนื่องจากลม การใช้ต้นมะคาเดเมียที่มีระบบรากลึกและแข็งแรง จะช่วยลดการโค่นล้มได้ ซึ่งต้นตอที่เหมาะสมควรใช้ต้นตอที่เพาะเมล็ดจากพันธุ์ H 2 ,344 ,OC และ 741

การจัดการคุณภาพ แมคคาเดเมีย
     หลังจากทำให้ผลร่วง ควรแยกส่วนที่เป็นผล กิ่งก้านใบ หรือสิ่งเจอปนอื่นๆ เช่น ดิน ก้อนกรวด ก้อนหิน ออกจากผล ก่อนนำไปกะเทาะเปลือกออกและนำไปอบแห้งต่อภายใน 24 ชั่วโมง ในกรณีผลสุกนานเปลือกเป็นสีน้ำตาลและดำ ต้องระวังอย่างมาก เพราะจำทำให้เกิดความร้อนและเนื้อในคุณภาพไม่ดี ต้องผึ่งเมล็ดในที่ๆ มีลมโกรก หรือวางบนตะแกรงเป็นชั้นๆ ลมพัดผ่านสะดวก การนำเมล็ดเข้าสู่ตู้อบเริ่มจากอุณหภูมิ 38o C และเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าจะทำให้ผลเนื้อใน (เมล็ด) มีคุณภาพดี (ขาวนวล) การนำไปเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 5o C ต้องมีความชื้นเพียง 1-1.5 % ก่อนบรรจุถุงพลาสติกด้วยระบบสุญญากาศ จะทำให้เก็บรักษาได้นาน

การขยายพันธุ์ แมคคาเดเมีย 
     ทาบกิ่ง ติดตา และ เสียบยอด

คุณค่าทางโภชนาการ
     เนื้อในของผลมะคาเดเมียที่อบแล้วมีธาตุอาหารต่างๆ ดังนี้

     1. สารอาหาร : น้ำมัน (78.2%), แป้ง (10%), โปรตีน (9.2%), ความชื้น (1.5-2.5%)

     2. แร่ธาตุต่างๆ : K(0.37%), P (0.17%), Mg (0.12%), Ca (360 ng/ka), Na (66mg/kg), Fe(18mg/kg), Zn(14mg/kg), Mn(3.8mg/kg), Cu (3.3 mg/kg)

     3.วิตามิน : ไนอาซีน (16 mg/kg), ไธอะมีน (2.2 mg/kg), ไรโบฟลาวิน (1.2 mg/kg)

น้ำมันแมคคาเดเมีย
     มีกรดไขมันสำคัญคือ โอลิเอท (67.17%) ปาล์มน้ำมันโทโลเอท (67.17%) ปาล์มมิเลท (6.15%) ไอโคซีเสนท (1.74%) สเตียเรท (1.64%) อะราดิเดท (1.59%) ลิโนลิเอท (1.34%) มายริเสตท (0.75%) ลอเรท (0.62%)

* * * * *
Sponsor Link
 หางาน เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

Powered by Blogger.