Header Ads

Breaking News
recent

สาเก (BREADFRUIT)


สาเก (BREADFRUIT)

          สาเกเป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุล Artocarpus เช่นเดียวกับขนุน สาเกมีใบขนาดใหญ่ขอบใบแฉกลึกเกือบถึงเส้นใบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม เหมาะที่จะปลูกให้ร่มเงาในบริเวณบ้าน ทั้งยังให้ผลดก จึงเป็นไม้ผลที่อยู่คู่คนไทยเรื่อยมา สาเกมีถิ่นกำเนิดจากประเทศแถบแปซิฟิกตอนใต้ และถือว่าเป็นอาหารสำคัญของผู้คนในประเทศแถบนั้น จนมลรัฐฮาวายได้มีการตั้ง “สถาบันสาเก (Breadfruit institute)” ขึ้นเพื่ออนุรักษ์พืชชนิดนี้ไว้ เพราะมีคุณค่าสารอาหารบางอย่างสูงกว่าหัวเผือกหรือหัวมันสำปะหลัง สามารถนำผลที่ยังไม่สุกไปปรุงอาหารได้หลายชนิด หรือตากแห้งแล้วบดเพื่อทำแป้งกินแทนขนมปังหรือข้าว ส่วนผลสุกนั้นจะกินเป็นผลไม้
          มีสาเกอีกสายพันธุ์หนึ่งซึ่งมีแต่เมล็ด เรียกว่า ขนุนสำปะลอ ลักษณะต้น ใบ และผลคล้ายสาเก แต่เปลือกผลจะมีหนาวเล็ก ๆ ปกคลุมโดยรอบ เมล็ดคล้ายขนุน สีดำ นำไปต้ม เผา คั่วกินเป็นของว่างได้ ขณะที่เปลือกสาเกจะปกคลุมด้วยตุ่มเล็ก ๆ ภายในผลมีเฉพาะเนื้อ  ไม่มีเมล็ด ผลอ่อนเนื้อเป็นสีขาว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน พันธุ์สาเกที่พบมาในประเทศไทยมีอยู่ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ข้าวเหนียวและพันธุ์ข้าวเจ้า โดยพันธุ์ข้าวเหนียวจะเป็นที่นิยมมากกว่า ด้วยความที่เนื้อแน่น ไม่ร่วนซุยและขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์ข้าวเจ้า

          สาเกมีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบสูง สามารถให้พลังงานแก่ร่างกายได้ เมื่อนำมาอบจึงมีกลิ่นคล้ายขนมปังอบใหม่ เป็นที่มาของชื่อ “Breadfruit” มีโปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย มีเส้นใยอาหารซึ่งดีต่อระบบขับถ่าย รวมถึงมีวิตามินซีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยการเสริมสร้างการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว นอกจากนี้สาเกยังมีสารอาหารที่ดีอย่างแคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียมอีกด้วย

ลักษณะผลของ สาเก
          คนไทยมักนำสาเกมาเชื่อมแล้วราดน้ำกะทิ กินเป็นขนมหวาน การทำสาเกเชื่อมให้อร่อยต้องเริ่มจาก เลือกผลสาเกที่ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป เมื่อปอกเปลือกและเอาแกนกลางออกแล้ว ให้แช่ในน้ำปูนใสก่อนเพื่อไม่ให้เนื้อเละ หรือเมื่อปอกเปลือกแล้วอาจบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เนื้อสาเกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ นอกจากนี้จะทำแกงบวดหรือหั่นบาง ๆ แล้วทอดกรอบ เพื่อเป็นขนมขบเคี้ยวก็ได้ ส่วนความเชื่อแต่โบราณว่า สาเกเป็นของแสลงสำหรับคนเป็นกามโรคหรืออาจทำให้อาการของโรคแย่ลงนั้น ยังไม่มีการศึกษายืนยันไว้อย่างชัดเจน

* * * * * *
ที่มา : www.prayod.com

ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย ผลไม้"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.