Header Ads

Breaking News
recent

โรคเพลี้ยไฟในมังคุด

อาการของ โรคเพลี้ยไฟในมังคุด

โรคเพลี้ยไฟในมังคุด

         ต้นมังคุดปลูกใหม่ในระยะแรกจะขาดนํ้าไม่ได้ ต้องคอยดูแลรดนํ้าให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอหากฝนไม่ตก หลังจากนั้นเมื่อต้นมังคุดตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้าง การให้นํ้าขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดินและเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางแห้ง คุมบริเวณโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นให้ดิน สำหรับมังคุดต้นโตและให้ผลผลิตแล้ว ยังจำเป็นต้องดูแลเรื่องการให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอแต่ในช่วงฤดูฝนย่างเข้าฤดูหนาวฝนจะตกน้อยต้องดูแลเป็นพิเศษเพราะช่วงนี้มังคุดต้องการสภาพแห้งแล้ง เพื่อพักให้ดินแห้งเร็วขึ้นควบคุมการให้นํ้า โดยให้ปริมาณที่เล็กน้อย แต่ระวังอย่างดนํ้าจนใบเหี่ยวเฉา และเมื่อต้นมังคุดผ่านสภาวะแห้งแล้ง มังคุดก็จะเริ่มทยอยออกดอก และออกผลในเวลาต่อมา ตลอดช่วงการเจริญของผลมังคุดต้องดูแลให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอ อาจให้วันเว้นวันหรือสองวัน เพื่อให้มังคุดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และป้องกันปัญหาเรื่องผลแตก ยางไหลในกรณีที่ให้นํ้าโดยการลากสายยางรด ควรพ่นนํ้าเข้าไปในทรงพุ่มให้ทั่วจะช่วยลดการทำลายของเพลี้ยและไรแดงได้บ้าง ซึ่งเพลี้ยจะดูดกินนํ้าเลี้ยงที่ยอดอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อน ทำให้ยอดแห้ง ผิวผลเป็นขี้กลาก หรือผิวลาย มียางไหลและอาจทำให้ผลร่วงได้

การป้องกันและกำจัด
          1. พ่นอิมิดาโคลพริด 10 % เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ ฟิโปรนิล 5 % เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อนํ้า20 ลิตร หรือไซเพอร์เมทริน/ โฟซาโลน 6.25%/22.5% อีซี อัตรา40 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20 % อีซี อัตรา50 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร

          2. สำรวจเพลี้ยไฟ หลังพ่นครั้งแรก 1 สัปดาห์ หากยังพบปริมาณเพลี้ยไฟเกิน 1 ตัวต่อยอด ต้องพ่นสารเคมีซํ้าอีกครั้ง และควรสลับการใช้สารเคมีชนิดอื่น เพื่อป้องกันแมลงสร้างความต้านทาน

* * * * * *
ขูอมูลดีดีจาก : www.taladsimummuang.com
Powered by Blogger.