Header Ads

Breaking News
recent

การปลูกลิ้นจี่

การปลูกลิ้นจี่

     ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE (ซึ่งก็คือวงศ์เดียวกับเงาะและลำไยนั้นเอง) ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ปัจจุบันนี้ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว
การปลูก 
     การเตรียมพื้นที่ 
     หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำคือ การเตรียมพื้นที่ปลูก ซึ่งจัดได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะลักษณะของพื้นที่แต่ละแห่งนั้นจะแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้ 2 แบบ 
1. ที่ลุ่ม 
     ขุดร่องยกแปลงขึ้นมาเพื่อเป็นการระบายน้ำเพราะลิ้นจี่ไม่ชอบดินปลูกที่แฉะน้ำ สำหรับความลึกของ ร่องประมาณ 80-100 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เมตรหรืออาจขุดร่องตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจาก ความสูงต่ำของพื้นที่ และความกว้างของแปลงปลูกไม่ควรต่ำกว่า 5 เมตร ส่วนความยาวของแปลงปลูกก็สุดแล้ว แต่ขนาดของพื้นที่ 
2. ที่ดอน 
     เตรียมพื้นที่โดยการไถพรวนและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ การเตรียมพื้นที่ในที่ดอนควรคำนึงถึง แหล่งน้ำที่จะใช้ด้วย พร้อมทั้งควรมีการปลูกพืชบังลมเพื่อป้องกันลม

     ระยะปลูก 
     การกำหนดระยะปลูกว่าจะเป็นระยะเท่าใดนั้นมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ 
1. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน 
     ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจะทำให้การเจริญเติบโตของลิ้นจีดีกว่าการปลูกในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ฉะนั้นถ้าหากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงแล้ว ควรจะใช้ระยะปลูกที่ห่างขึ้น ซึ่งจะตรง กับที่พูดกันติดปากว่า "ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง" 
2. ขนาดของทรงพุ่มลิ้นจี่ 
     ต้องคำนึงถึงว่าเมื่อลิ้นจี่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทรงพุ่มจะมีขนาดเท่าใด เพื่อจะป้องกัน ทรงพุ่มชนกัน เพราะนิสัยการออกดอกติดผลของลิ้นจี่จะมีการออกดอกติดผลบริเวณปลายทรงพุ่ม จึงต้องมีการ ป้องกันการแย่งแสง 
3. พันธุ์ 
     ลิ้นจี่แต่ละพันธุ์มีการเจริญเติบโตและขนาดทรงพุ่มที่แตกต่างกัน


     การเตรียมหลุมปลูก 
     ขนาดของหลุมปลูกที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี มักจะใช้ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร (กว้างxยาวxลึก) ส่วนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อย มักจะใช้ขนาด 80x80x80 เซนติเมตร การขุดหลุมควรแยกดินออกเป็น 2 ส่วน คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง
     ในการปลูกนั้น ควรนำเอาดินชั้นบนผสมกับปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 ปี๊บ และใส่ร๊อกฟอสเฟตหรือกระดูกป่นอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วนำไปใส่หลุมและนำเอาดินชั้นล่างขึ้นข้างบนกลบทับให้เต็มหลุม โดยให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 15-20 เซนติเมตร

     การชักนำการออกดอก 
     การชักนำการออกดอกของลิ้นจี่ ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้าน สภาพแวดล้อมในแต่ละปี ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ แต่อย่างไรก็ตามมี ผู้เสนอแนวทางในการควบคุมการออกดอก ไว้ดังนี้ คือ 
1. การคัดเลือกพันธุ์ 
     ดังที่ได้กล่าวข้างต้นจะเห็นว่าพันธุ์แต่ละพันธุ์มีความยากง่ายในการออกดอกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นไม่มาก และมีช่วงหนาวเย็นสั้นควรปลูกพันธุ์ภาคกลาง เช่น พันธุ์ค่อม พันธุ์สำเภาแก้ว พันธุ์ทิพย์ พันธุ์จีน เป็นต้น พันธุ์ดังกล่าวจะออกดอกได้ง่าย ส่วนพันธุ์ทางภาคเหนือที่ออกดอกง่ายได้แก่ พันธุ์กิมจี๊ พันธุ์ฮงฮวย สำหรับพันธุ์ที่ออกดอกยาก เช่น พันธุ์ โอเฮียะ และกิมเจง ควรเลือกปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆ ละยาวนานจึงจะออกดอกได้ดี นอกจากการคัดเลือกพันธุ์แล้วควรเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่มีประวัติการออกดอกติดผลสม่ำเสมอไปปลูก 
2. การควั่นกิ่ง 
     การควั่นกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ยับยั้งการแตกใบอ่อน ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการออกดอกของลิ้นจี่ได้ระยะใบที่เหมาะสม ต่อการควั่นกิ่งนั้นควรอยู่ในระยะใบแก่ ตั้นลิ้นจี่ที่ควั่นกิ่งต้องสมบูรณ์ การควั่นกิ่งควรทำในเดือนตุลาคม โดยควั่นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 12 เซนติเมตร ขนาดของรอยควั่นกว้าง 1-1.5 มิลลิเมตรลึกเข้าไปถึงเนื้อเยื่อ การควั่นกิ่งจะประสบผลสำเร็จจะต้องมีอุณหภูมิต่ำร่วมด้วย 
3. การงดการให้น้ำ 
     โดยงดการให้น้ำก่อนการออกดอกประมาณ 2 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อน แต่วิธีนี้บางครั้งอาจไม่ได้ผลเนื่องจากมักมีฝนหลงฤดูตกในช่วงฤดูหนาวทำให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อนเกิดขึ้น 
4. การปลิดยอดอ่อนที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว 
     ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ซึ่งตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนตกแทบทุกปี และมักจะตกปริมาณมาก ทำให้ลิ้นจี่ที่ขาดน้ำมานาน ดูดน้ำฝนเข้าไปเต็มที่ จึงแตกยอดอ่อนในช่วงต้นถึงกลางเดือนธันวาคม ซึ่งใบชุดนี้จะยังแก่ไม่ทันที่อากาศหนาวจัดจะมาถึง ในช่วงปลายธันวาคมถึงต้นมกราคม ทำให้ลิ้นจี่ไม่สามารถออกดอกในปีนั้นได้ ดังนั้นการทำลายยอดอ่อนจึงเป็นการสร้างโอกาสให้ลิ้นจี่ออกดอกได้มากขึ้น ซึ่งอาจทำได้โดยใช้มือปลิด หรือใช้สารเอทธิฟอนความเข้มข้น 400 ส่วนต่อล้าน(ppm) ฉีดพ่น

     การให้น้ำ 
     การให้น้ำแก่ลิ้นจี่ช่วงต้นเล็กในระยะ 1 -2 ปีแรก 
     การให้น้ำแก่ต้นลิ้นจี่ปลูกใหม่ในระยะ 2 ปีแรก โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำที่ต้องรดให้แก่ต้นไม้ที่ปลูก ในปีแรกและปีที่ 2 ประมาณ 20 - 60 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกน้ำกว้าง 0.5 และ 1.0 เมตร) 

     การให้น้ำแก่ลิ้นจี่อายุ 3 ปีขึ้นไป 
     วิธีการให้น้ำแก่ผิวดิน 
     การให้น้ำโดยทางผิวดิน เป็นการให้น้ำครั้งหนึ่งๆเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ดินที่ความลึกอย่างน้อย 50 เซ็นติเมตร อุ้มน้ำไว้ให้มากที่สุด ให้พืชค่อยๆใช้ได้หลายวัน โดยปริมาณน้ำที่ให้จึงขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มและน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ น้ำที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แตกต่างกันไปตามความหยาบละเอียดของดิน โดยทั่วไปแล้ว การให้น้ำทางผิวดินที่ง่ายที่สุด คือ การไขน้ำเข้าท่วมขังในพื้นที่ทั้งสวน ให้น้ำสูงเท่ากับความลึกที่ต้องการ การที่จะทำเช่นนี้ได้ พื้นที่สวนต้องราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ถ้าสวนไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ให้ทำคันดินรอบทรงพุ่มของต้นลิ้นจี่แต่ละต้น แล้วไขน้ำเข้าขังในคันให้สูงตามต้องการ 

     การให้น้ำโดยสปริงเกอร์และสปริงเกอร์เล็ก 
     การเลือกหัวสปริงเกอร์ ต้องคำนึงถึงอัตราการซึมนำของดินอีกด้วย โดยต้องเลือกสปริงเกอร์ ที่ให้น้ำ ด้วยอัตราที่ไม่เร็วกว่าที่น้ำจะซึมเข้าในดินได้ ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำไหลล้นออกนอกทรงพุ่ม เป็นการสูญเสียน้ำ เนื่องจากการให้น้ำโดยสปริงเกอร์และมินิสปริงเกอร์ สามารถทำได้สะดวก เกษตรกรสามารถให้น้ำเป็นราย 3 วัน หรือ ราย 7 วัน ได้โดยง่าย ดังนั้นเกษตรสามารถเลือกให้น้ำทุก 5-7 วัน แล้วแต่เนื้อดิน ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายให้ทุก 5 วัน ถ้าเป็นดินเหนียวให้ทุก 7วัน เป็นต้น

* * * * * *
ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย ผลไม้"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV

ที่มา : Myveget.com, wikipedia.org
Powered by Blogger.