Header Ads

Breaking News
recent

การเพาะปลูก น้อยหน่า


การเพาะปลูก น้อยหน่า

     น้อยหน่า ชื่ออื่น ๆ หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) , ลาหนัง (ปัตตานี) , มะนอแน่, มะแน่ (เหนือ) , หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) , มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ) , เตียบ (เขมร) เป็นพืชยืนต้น ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง และใต้ แต่จะพบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการปลูก
- ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
- ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
- ผสมดิน ปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 5 กิโลกรัม ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
- ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
- ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
- ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
- กลบดินที่เหลือลงในหลุม
- กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
- ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
- หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
- รดน้ำให้ชุ่ม
- ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด

ระยะการปลูก
- 3x3 เมตร

จำนวนปลูกต่อไร่
- เฉลี่ย 150 ต้น/ไร่


การดูแลรักษา
     การให้ปุ๋ย
1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 - 3 ครั้ง
2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
- บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24
- บำรุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21

     ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 - 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี

     การให้น้ำ 
     ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี

สรรพคุณ
     ใบสดและเมล็ดน้อยหน่า  สามารถใช้ฆ่าเหา และ โรคกลากเกลื้อน โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
- นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที
- นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้ และ แก้ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม

     ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา

     เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน

     ผล ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู

* * * * * *


ที่มา : wikipedia.org, myveget.com

โดย : Kaset NaNa เกษตรนานา


ตลาดกลาง "ซื้อ-ขาย สินค้าเกษตร"
ที่สมาชิกเยอะที่สุด
VV คลิก VV



ลิ้งค์ที่น่าสนใจ


sarapantip สาระพันทิป


iLoveCoffeeTHAILAND ชมรมคนรักกาแฟแห่งประเทศไทย

dairyfeed อาหารโคนม



แชร์...ตรงนี้  เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เพื่อนที่ได้เห็น
VVVVVVVVV
Powered by Blogger.